กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3312-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมถือเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีประเทศไทย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกพบมากอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรีถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคนในแต่ละปี ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear แม้การตรวจมะเร็งปากมดลูกจะง่าย สะดวก ราคาถูกแต่ยังพบสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจคัดกรอง ส่วนมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออก ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง มีจำนวน 6 ราย แยกเป็นมะเร็งปากมดลูก 2 ราย มะเร็งเต้านม 4 ราย สำหรับการตรวจคัดกรองในปีงบประมาณ 2560 มีสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี จำนวน 753 คน ได้รับการคัดกรองไปแล้ว พ.ศ.2558-2559 จำนวน 350 คน เหลือกลุ่มเป้าหมายอีก 403 คน ในแต่ละปีมีการตัั้งเป้าหมายให้มีผู้เข้ารับบริการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือก คือ จำนวน 150 คน ในส่วนของมะเร็งเต้านมมีสตรีกลุ่มเป้าหมาย 30-70 ปี จำนวน 862 ราย ได้รับการคัดกรองแล้วปี 2558-2559 จำนวน 152 ราย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับบริการเสริมสร้างความรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักในการเข้ารับบริการคัดกรองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักและหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70

2 เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้พบในระยะเริ่มแรกและลดอัตราการเกิดโรคในระยะรุนแรง

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองตามเกณฑ์ ร้อยละ 60 รวมทั้งผลงาน ปี 2558-2559 กลุ่มเป้าหมายที่ผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

อัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งลดลง ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน 3.แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 4.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ซึ่งส่งผลให้ประชาชนมารับบริการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 5.ประเมินผลการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายตระหนักและเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.มีความรู้ในเรื่องของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 15:10 น.