กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสานพลังครอบครัวสู่ชุมชนปลอดบุหรี่ ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2490-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านโคกศิลา
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 31,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมรันสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 เม.ย. 2561 17 เม.ย. 2561 31,000.00
รวมงบประมาณ 31,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งพบว่า มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด ๑๑.๔ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๗ จากประชากรในประเทศไทยทั้งหมดมีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำถึง ๑๐ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๒ และสูบเป็นครั้งคราว ๑.๔ ล้านคน ส่วนผู้ที่เคยสูบแต่เลิกแล้ว พบเพียง ๓.๗ ล้านคน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำนั้น มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ๖๑.๗) ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ สูบบุหรี่มวนที่ผลิตจากโรงงาน รองลงมาสูบบุหรี่มวนเอง (ร้อยละ๕๕.๔) เมื่อพิจารณาอัตราการสูบบุหรี่ตามกลุ่มวัย พบว่ากลุ่มวัยทำงาน (๒๕-๕๙ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ๒๓.๕) รองลงมาคือกลุ่มวัยสูงอายุ (๖๐ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (๑๕-๒๔ปี) (ร้อยละ๑๖.๖และ๑๔.๗ตามลำดับ) นอกเขตเทศบาล มีอัตราของผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าในเขตเทศบาล๑.๓เท่า (ร้อยละ๒๓.๐และ๑๘.๐ตามลำดับ) และเมื่อจำแนกรายภูมิภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น โดย มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด ๑.๙ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๑ จากประชากรทั้งหมด ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีจำนวน ๑.๘ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๓จากคนที่สูบบุหรี่ทั้งหมด รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาลา ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส รับผิดชอบทั้งหมด ๓ หมู่บ้านจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จำนวน๒,๖๙๐ คน พบผู้ที่สูบบุหรี่ มีจำนวน๕๕๙คนร้อยละ ๒๐.๗๘ของประชากรที่สำรวจโดยผู้สูบส่วนใหญ่เป็นผู้สูบเป็นประจำทุกวันจากข้อมูลสุขภาพ พบว่า มีการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับการสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ COPD จำนวน ๓คน, ความดันโลหิตสูง จำนวน ๖๗คนและเบาหวาน จำนวน ๔๒คน และจากปรากฏการณ์เชิงประจักษ์จะพบว่า วัยรุ่นสูบบุหรี่เป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่คนส่วนใหญ่/ผู้ใหญ่ในครอบครัวและชุมชนสูบบุหรี่ ทำให้วัยรุ่นเห็นว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อีกทั้งสามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากร้านค้ายังมีการจำหน่ายแยกซองให้กับเด็ก และที่เป็นปัญหามากคือ บุหรี่มีราคาถูกเป็นบุหรี่หนีภาษีที่เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในระยะที่ผ่านมามีการรณรงค์การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่อยู่บ้าง หากแต่ยังขาดการทำงานเชิงรุกและลึกกับบุคคล ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา จึงได้จัดทำโครงการสานพลังครอบครัวสู่ชุมชนปลอดบุหรี่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน/มีความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังเน้นการจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ได้เข้าถึงบริการ การจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นทั้งในและนอกโรงเรียนซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งนี้เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ อันจะลดผลกระทบต่อความสูญเสียอันเนื่องมาจากสูบบุหรี่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ โดยจะลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายจากโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้แกนนำ/อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่
  • แกนนำ/ อสม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่
0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน

-ผู้สูบบุหรี่ลดปริมาณการสูบลงจากเดิม -ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบได้มากกว่า ๖ เดือนได้อย่างน้อย ร้อยละ ๕๐ของผู้เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยเน้นในเด็กและเยาวชน

เด็ก และเยาวชนในพื้นที่ตั้งใจที่จะไม่สูบบุหรี่อย่างน้อย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับอสม.และแกนนำในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อให้เข้าใจ วัตถุประสงค์ของโครงการ ๓. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในเครือข่าย ๔. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่ในเขตรับผิดชอบ
๕. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ ๖. จัดเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ในการอบรม ในกิจกรรมตามโครงการ ขั้นดำเนินการ ๗.กิจกรรมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้แก่แกนนำ /อสม. เรื่องพิษภัยบุหรี่ ๘.ให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่กับนักเรียนทุกคนในโรงเรียนเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ๙.ให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่กับแกนนำเยาวชนในหมู่บ้าน ๑๐. อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มสูบบุหรี่ เพื่อลด ละ เลิกบุหรี่ ๑๑. ติดตามผลการลด/เลิกบุหรี่ในชุมชน ๑๒. ประเมินผลโครงการ ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.แกนนำ/ อสม.มีความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ สามารถแนะนำกลุ่มสูบบุหรี่สมัครเข้าคลีนิคเลิกบุหรี่ได้ ๒.เด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่ และทักษะในการดูแลป้องกันตัวเอง จากบุหรี่ เพื่อป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ๓. ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2561 11:22 น.