กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดประจำถิ่น ในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L3312-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2560 - 15 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานกลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านท่าควาย
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านท่าควาย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 เม.ย. 2560 31 ส.ค. 2560 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 722 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคประจำถิ่นถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น แต่ละปีมีผู้ป่วยจำนวนมาก บางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญได้นำปัญหาโรคประจำถิ่นมากำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรค ต้องบูรณาการแผนงาน กิจกรรมและงบประมาณกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ จากข้อมูลผู้ป่วยและเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย มีผู้ป่วยโรคประจำถิ่นที่สำคัญเป็นปัญหาตามโรคดังกล่าวข้างต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่าพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้มีโรคระบาดเกิดขึ้นตามมา ดังนั้น อสม.รพ.สต.บ้านท่าควายจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงกำหนดจัดโครงการเฝ้าระวังโรคระบาดประจำถิ่นในเขตรพ.สต.บ้านท่าควาย ปีงบประมาณ2560 ขึ้นมา เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคระบาดประจำถิ่น ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคประจำถิ่นนั่นเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคระบาดประจำถิ่น

อัตราครัวเรือนมีการเฝ้าระวังโรคระบาดประจำถิ่น ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคระบาดประจำถิ่น

ประชาชนได้รับความรู้ อัตราร้อยละ 80

3 เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบาดประจำถิ่น มีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีการระบาดซ้ำ

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี อัตราป่วยโรคมือเท้าปาก และโรคฉี่หนูลดลงร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 เม.ย. 60 - 7 ก.ค. 60 ประชุมเตรียมความพร้อมทีมเครือข่ายสุขภาพตำบล SRRT ระยะเวลา 2 วัน 50 2,500.00 2,500.00
7 เม.ย. 60 - 4 ส.ค. 60 จัดซื้อทรายอะเบท โลชั่นกันยุง สื่อประชาสัมพันธ์โรคประจำถิ่น รณรงค์ป้องกันและควบคุมให้ประชาชนเฝ้าระวังระบาดในท้องถิ่น 722 7,900.00 7,900.00
21 เม.ย. 60 - 18 ส.ค. 60 ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 40 9,600.00 9,600.00
รวม 812 20,000.00 3 20,000.00

1.ขั้นเตรียมการ ประชุมเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ ประสานพื้นที่ เช่น ผู้นำชุมชน อสม. หมู่บ้าน โรงเรียน วัด ศพด.พร้อมประชาสัมพันธ์โครงการ
2.ขั้นดำเนินการ ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม.แกนนำหมู่บ้าน เตรียมความพร้อมคณะทำงานSRRT เครือข่ายตำบล จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคประจำถิ่น ให้ความรู้การป้องกันควบคุมโรคเกี่ยวข้อง จัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมแก่ประชาชน ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยคณะกรรมการประเมินและแกนนำนักเรียน ประเมินผลการประกวดหมู่บ้านฯ และแจ้งให้หมู่บ้านทราบ 3.ขั้นสรุปผลโครงการ สรุป/รายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยโรคประจำถิ่นลดลงและไม่มีการระบาดซ้ำ 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตัวในการป้องกันและควบคุมโรคประจำถิ่น 3.เกิดความร่วมมือในการเฝ้าระวังโรคระบาดประจำถิ่นร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลโคกม่วง หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ อสม.และประชาชนทั่วไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 15:43 น.