กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
1. กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2. การพ่นหมอกควัน 3. รณรงค์คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง29 ตุลาคม 2561
29
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมตัวแทนเพื่อระดมความคิดผู้เกี่ยวข้องได้แก่  อสม.,  ครู,  นายก อบต. ดุซงญอ,สมาชิก อบต. ดุซงญอ,  ผู้นำศาสนาของทุกหมู่บ้าน,  แกนนำหมู่บ้าน, กลุ่มสตรี  และปลัดตำบลดุซงญอ  มาร่วมรับรู้ปัญหาร่วมกัน  ร่วมวางแผนกิจกรรม  ร่วมปฏิบัติและประเมินผล 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ 3.จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  ประกอบด้วย
    3.1  คว่ำกะลา กระป๋อง  ภาชนะแตกหักที่อาจกักเก็บน้ำได้ควรได้รับการกำจัดทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ในหมู่บ้านและโรงเรียนเป้าหมาย  เช่น               -  โอ่งน้ำ ใช้วิธีปิดฝาให้มิดชิด               -  อ่างบัว  ใช้วิธีใส่ปลากินลูกน้ำ               -  ยางรถยนต์เก่า  ใช้วิธีปกปิด หรือดัดแปลงให้น้ำขังไม่ได้               -  แจกัน ใช้วิธีเปลี่ยนน้ำทุก ๗ วัน               -  จานรองกระถางต้นไม้  ใช้วิธีใส่ทรายธรรมดาให้ลึก 3ใน4 ส่วนของจาน               -  จานรองขาตู้กับข้าว ใช้วิธีเติมน้ำเดือดทุก ๗ วัน     3.2  จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์  การป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้รถประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าว  ประจำหมู่บ้านและที่มัสยิด     3.3. กิจกรรมรณรงค์  โดยเน้นความร่วมมือของชุมชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย  โดยให้ชุมชนสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกศุกร์ของสัปดาห์     3.4  กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคน  ชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข  ผู้นำศาสนา  เพื่อสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง  มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน  โดยการอบรมแบบมีส่วนร่วมในกลุ่ม  อสม., แกนนำชุมชน  และผู้นำศาสนา
    3.5. จัดอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกให้แกนนำนักเรียน     3.6  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับอสม.ก่อนออกปฏิบัติในพื้นที่เพื่อรงณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกให้แก่ประชาชน     3.7. กิจกรรมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควันหรือละอองฝอยในชุมชน  ในโรงเรียนและสถานที่ราชการเพื่อลดจำนวนของยุงลายตัวแก่ในชุมชนและลดการแพร่เชื้อไปสู่คนด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. อัตราป่วย / ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  และ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
    5.  หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่