กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง และลดโรค ในตำบลดุซงญอ

1. กิจกรรมการเสริมทักษะการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคกลุ่ม Metabolic และ ๔ อ. (อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ แอลกอฮอล์และบุหรี่) และการประเมินผล จำนวนไม่น้อยกว่า ๔ ครั้ง 10 สิงหาคม 2561
10
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย 1.1 จัดกิจกรรมการเสริมทักษะการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคกลุ่ม Metabolic และ 4 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ แอลกอฮอล์และบุหรี่) และการประเมินผล จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง 1.2 การติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และระดับความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายต่อเนื่องทุก 3-6 เดือน และบันทึกผลทุกครั้ง 1.3 การอบรมให้ความรู้เรื่องและฝึกทักษะเรื่องการบริโภคอาหาร และอาหารสุขภาพแก่แกนนำครอบครัว 1.4 เดินรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม ในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. 1.5 จัดอบรมฟื้นฟูการคัดกรองความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานสำหรับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ
  2. กิจกรรมต่อเนื่องในชุมชน 2.1 กำหนดมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมโดยชุมชน เช่น การลดการใช้น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานต่างๆ รณรงค์ลดการจำหน่ายบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน การรณรงค์การใช้เครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารในครัวเรือนและงานเลี้ยงต่าง ๆ เป็นต้น 2.2 การค้นหาและรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ 2.3 นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2.4 ยกย่องบุคคลต้นแบบของชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่างแลแหล่งเรียนในชุมชน 2.5 สร้างกลุ่มแกนนำ/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน 2.6 มีการปลูกพืชผัก สมุนไพรไว้กิน/ใช้ในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนในชุมชน 2.7 รณรงค์งดจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และลดการใช้น้ำหวาน เครื่องปรุงรสในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวานในหมู่บ้านได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมลดโอกาสการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเองได้
  4. หมู่บ้านเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค Metabolic ได้ ถูกต้องเหมาะสม โดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน
  5. ผู้ป่วยโรคเรื่อรังมีศักยภาพในการดูแลตนเอง