กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนยุคใหม่ปราศจากยาอันตราย ในตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 61-L2476-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กุมภาพันธ์ 2561 - 13 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮานิง อาบ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาคือสถานประกอบการร้านขายของชำ นำยาชุด ยาอันตรายมาขายโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ
60.00
2 ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยาที่ถูกต้อง
500.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องมีการเผยแพร่ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในร้านค้าขายของชำพบว่าในบางพื้นที่มีร้านขายของชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมากกว่าร้อยละ80การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่น ๆ ในชุมชนมีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในชุนชนเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจการขายยาอันตรายในเขตตำบลดุซงญอจำนวน8หมู่บ้านพบว่ามีการจำหน่ายยาอันตรายในทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และยาชุด ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยาทำให้เกิดการดื้อยาเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดุซงญอจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตรายในตำบลดุซงญอขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ความรู้ร้านขายของชำปลอดยาอันตรายโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ประกอบกับองค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานได้กำหนดไว้ว่าการคุ้มครองผู้บริโภคอสม. ต้องดำเนินร่วมกับประชาชนสอดส่องดูแลพฤติกรรมของร้านค้ารถขายยาเร่ ฯลฯ หากพบเห็นผู้กระทำผิดกฎหมายก็แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการอสม. ร่วมกันให้ความรู้แก่เพื่อนบ้านในการเลือกซื้อสินค้าเช่นอาหารเครื่องปรุงรสขนมเครื่องปรุงรสขนมเครื่องสำอางที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ อย. มาใช้ตลอดจนอาจจัดตั้งกลุ่มชมรม เพื่อร่วมมือประสานงานกันดูแลประชาชนในพื้นที่และงานสุขศึกษาให้สุขศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เช่นปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น การร่วมกันแก้ไขปัญหาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านขายของชำ ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่เรื่องยาอันตรายในพื้นที่ และรายการยาที่ร้านขายของชำสามารถจำหน่ายได้
  1. ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำตระหนักถึงการขายยาที่ไม่ถูกต้อง
  2. ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการขายยา
  3. ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง  และเกินจำเป็น
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,000.00 1 8,000.00
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านขายของชำ ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่ เรื่องยาอันตรายในพื้นที่ และรายการยาที่ร้านขายของชำสามารถจำหน่ายได้ 0 8,000.00 8,000.00

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอสม. เพื่อวางแผนในการดำเนินงาน 2.เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ดำเนินการสำรวจและตรวจร้านขายของชำในพื้นที่รับผิดชอบ 3.จัดทำหนังสือเชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องยาอันตรายและขออนุเคราะห์สถานที่ในการจัดอบรมตามโครงการ 4.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านขายของชำ ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่เรื่องยาอันตรายในพื้นที่ และรายการยาที่ร้านขายของชำสามารถจำหน่ายได้
5.เดินรณรงค์แจกสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาอันตรายให้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำและประชาชนในพื้นที่
6.สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านค้าขายของชำตระหนักถึงการขายยาที่ไม่ถูกต้อง
  2. มีชุดข้อมูลสถานการณ์การใช้และการขายยาชุดในตำบลดุซงญอ
  3. พัฒนากลไกการแก้ไขปัญหายาชุดของตำบลดุซงญอประกอบด้วยกลไกการเฝ้าระวังกลไกการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคผู้ประกอบการ
  4. ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการใช้ยา
  5. ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องและเกินจำเป็น
  6. พัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาให้เกิดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  7. อัตราการขายยาที่ไม่ถูกต้องในร้านขายของชำลดลงอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2561 12:45 น.