กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและติดตามภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 - 72 เดือน ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 61-L2476-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.ดุซงญอ, รพ.สต.ดุซงญอ และรพ.สต.บ้านกาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 33,445.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 256 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 638 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
71.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
965.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุพโภชนาการหมายถึงภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติอาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ2 - 3 ปีแรกของชีวิตจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียนภายหลังเนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุดซึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง3เดือนหลังการตั้งครรภ์จนถึงอายุ18 - 24เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุดเมื่ออายุ 3 ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ยเล็กซูบผอมผิวหนังเหี่ยวย่นเนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0 - 72 เดือน) ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลดุซงญอประจำปีงบประมาณ2560พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 8.90มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ ๑๐ ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมองสารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมองหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสติปัญญาของเด็กซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคตสาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็ก0 - 72เดือน ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในการดำเนินการที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครองแต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็น จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0 -72 เดือน ในตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อพัฒนางานโภชนาการและติดตามโภชนาการในชุมชนและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

71.00 71.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

965.00 965.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1. ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐ – ๗๒ เดือน โดยการชั่งน้ำหนัก ทุก ๆ 3 เดือนในเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติและทุก 1 เดือนในเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ 2. ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน 33,445.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน
  2. ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน โดยการชั่งน้ำหนัก ทุก ๆ 3 เดือนในเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติและทุก 1เดือนในเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์
  3. ดำเนินการจ่ายอาหารเสริมและยาเสริมวิตามินแก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
  4. ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุก ๆ1 เดือน
  5. ดำเนินการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในเด็กอายุ0 - 72 เดือน
  6. ดำเนินการสาธิตอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  7. ดำเนินการประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยในเด็ก 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 – 72 เดือนมีโภชนาการและมีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ที่กำหนดพร้อมทั้งมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2561 14:20 น.