กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 61-L2476-2-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2561 - 3 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 3 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 27,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุในพื้นที่มีภาวะโรคสองเสื่อมมากขึ้น
400.00
2 ผูู้สูงอายุไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคสองเสื่อม
400.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2564 กลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) และคาดว่าในปี 2568 ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น 14.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังตามมา ทั้งนี้โรคสมองเสื่อม เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยพบว่ากลุ่มเสี่ยงคือช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรืออายุ 40 ปีขึ้นไป มีปัญหาความจำหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น กรรมพันธุ์ มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมัน เบาหวาน และสูบบุหรี่ เป็นต้น (กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข, 2556) นับว่าโรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่รุนแรงในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ และยังขาดความสนใจของผู้สูงอายุ และผู้ดูแล (Care giver) ในการตระหนักถึงโรคดังกล่าวซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางในการดูแลปัญหาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด มีการศึกษาเกี่ยวกับความซุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทยมีประมาณร้อยละ 2 – 10 โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่เริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้นอย่างเงียบ ๆ เป็นภาวะที่สมองมีระดับในการจัดการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ คิดสิ่งต่าง ๆ ไม่ออก แยกของต่าง ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไม่ได้ จำทางไม่ได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง วิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งจะทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลและสังคมอย่างมาก หากผู้ใกล้ชิดไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้ ก็มักจะมองข้ามแม้มีอาการแสดงขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม ด้วยความเข้าใจผิดไปว่าเป็นอาการปกติทั่วไปของความชราภาพกลายเป็นการละเลยจนทำให้อาการของโรคพัฒนามากขึ้นจนยากที่จะแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้ ด้วยเหตุนี้ชมรมผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ ในการจัดทำโครงการค้นหาภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลดุซงญอขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงภัยเงียบที่อยู่ใกล้ตัวนี้ รวมทั้งยังได้มีความคิดเห็นในการเสริมกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุ ญาติ และผู้ดูแล (Care giver) ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ภัยเงียบภาวะโรคสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุมีความรู้ และช่วยชะลอภาวะโรคสมองเสื่่อมให้ช้าลง

400.00
2 เพื่อสำรวจและคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลดุซงญอ

มีข้อมูลความซุกภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ เพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป

400.00
3 เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุให้ช้าลง

ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้รับการตรวจคัดกรองอย่างทันท่วงที

400.00
4 เพื่อส่งต่อการรักษาได้ทันท่วงทีไม่ให้โรคสมองเสื่อมลุกลาม

ผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคสมองเสื่อมได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและมีการส่งต่อพบแพทย์ตามระดับความรุนแรงของโรคตามลำดับ

400.00
5 เพื่อกระตุ้นให้ขุมชนตื่นตัว ดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันมากขึ้น

ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้รับการตรวจคัดกรองอย่างทันท่วงที

400.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 ก.ค. 61 - 3 ส.ค. 61 1.ประชาสัมพันธ์เพื่อหากลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงานและเพื่อเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ 3. ประสานจัดหาสถานที่ดำเนินการตามโครงการ 4. ดำเนินการตามโครงการ 400 27,700.00 27,700.00
รวม 400 27,700.00 1 27,700.00
  1. เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์เพื่อหากลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงานและเพื่อเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ
  4. ประสานจัดหาสถานที่ดำเนินการตามโครงการ
  5. ดำเนินการตามโครงการ จัดอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ เรื่องภัยเงียบภาวะโรคสมองเสื่อม และดำเนินการค้นหาภาวะโรคสมองเสื่อมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ โดยสอบถามความพึงพอใจในโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้โรคสมองเสื่อมและสามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมให้ช้าลง
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคสมองเสื่อมได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและมีการส่งต่อพบแพทย์ตามระดับความรุนแรงของโรคตามลำดับ
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้รับการตรวจคัดกรองอย่างทันท่วงที
  4. มีข้อมูลความซุกภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุตำบลดุซงญอ เพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2561 20:52 น.