กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงกาส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน (กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อย.น้อย)
รหัสโครงการ 61-L2476-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านดุซงยอ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 สิงหาคม 2561 - 2 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 3 กันยายน 2561
งบประมาณ 6,968.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเพาซี ขาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 488 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในชุมชนตำบลดุซงญอ มีผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้า ที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงควรทำตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่สุด คือในวัยเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือกสังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านดุซงยอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และมีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีและได้ผล โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้ อย. มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมและมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน ดังนั้น โรงเรียนบ้านดุซงยอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน (กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อย.น้อย) เพื่อจัดอบรม อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อย เพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ร้อยละ 80

488.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน

นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

488.00
3 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองของนักเรียน และบุคคลอื่น ๆ ในโรงเรียน

นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัวร้อยละ 80

488.00
4 เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ร้อยละ 80

488.00
5 เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

488.00
6 เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

488.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,968.00 1 6,968.00
2 ส.ค. 61 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย มีความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย 2. กิจกรรมการตรวจสอบด้านการาสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 0 6,968.00 6,968.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม     1.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ดุซงญอ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้นักเรียน อย.น้อย มีความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
        2.2 กิจกรรมการตรวจสอบด้านการาสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
  3. ประเมินการจัดกิจกรรม/ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
  4. สรุปผลการจัดกิจกรรมข้อเสนอแนะปรับปรุงและพัฒนา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
  2. นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2561 21:49 น.