กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหารในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L3312-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานกลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 141 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ แต่หากอาหารมีสารอันตรายปนเปื้อนหรือแม้แต่สารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่ากำหนด ย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่รัฐและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวังและป้องกันให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยมีคุณค่าทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญพบในอาหารสด มักมีสารปนเปื้อนอยู่มาก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว หรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภคโดยมีการใช้สารปนเปื้อนกับอาหารในการหวังผลกำไรโดยไม่คำนึงถึงโทษที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในอนาคต สารปนเปื้อนในอาหาร 4 ชิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารกันรา และสารฟอกขาว รวมถึงโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงและโรคเรื้อรังเกี่ยวกับโภชนาการ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายที่มีอยู่ในอาหาร ได้รับการป้องกันที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสถานประกอบการด้านอาหารตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ได้แก่ ร้านอาหาร แผงลอย เร่ขาย โรงอาหาร ให้ปราศจากพิษภัยและมีคุณค่าครบถ้วน และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารและโรงอาหารให้ถูกสุขลักษณะและได้มาตรฐาน นอกจากนั้นเป็นการเ้ฝ้าระวัง ป้องกัน เพื่อวางมาตรการในการเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหารต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการและครูอนามัยเรื่องสุขาภิบาลอาหารและการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

อัตราผู้เข้าร่วมอบรม ร้อยละ 100

2 เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ในการประเมินร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหาร และตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร

คณะทำงานมีความรู้ในการประเมินร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารและตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ร้อยละ 100

3 เพื่อให้ร้านอาหาร แผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น และเกณฑ์ Clean Food Ttase

ร้านอาหาร แผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นและเกณฑ์ Clean Food Ttase ร้อยละ 100

4 เพื่อให้โรงอาหารในโรงเรียนและศพด.ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

โรงอาหารในโรงเรียนและศพด.ฝ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 100

5 เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษามีความรู้เรื่องอาหารถูกหลักโภชนาการของเด็ก

ผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษามีความรู้เรื่องอาหารถูกหลักโภชนาการของเด็กร้อยละ 100

6 เพื่อตรวจสารเคมีกำจัดศรัตรูพืช ระดับเอนไซม์คอลีนเอสเตอเรสในเลือดแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยง

เกษตรกรที่มีระดับเอนไซม์คอลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่ปลอดภัย/และปกติ มาสู่กลุ่มปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม.รวมถึงแกนนำในหมู่บ้าน 2.ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องสุขภิบาลอาหาร และการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 3.จัดหาชุดทอสอบสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด ได้แก่ ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ ชุดทดสอบสารฟอกขาว ชุดทดสอบสารกันรา ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน ชุดทดสอบ Sl-2 ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำ/น้ำแข็ง 4.ประเมินและตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ของร้านอาหาร แผงลอย ตามเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นและเกณฑ์ (Clean Food Good Taste จำนวน 2 ครั้ง) 5.ประเมินและตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ของโรงอาหารโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัย จำนวน 1 ครั้ง 6.ตรวจสารเคมีจำกัดศรัตรูพืช ในเลือดเกษตร จำนวน 2 ครั้ง
7.อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กแก่ผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษา สรุปผลโครงการ 1.สรุปผลการดำเนินการจากการตรวจประเมินและติดตาม 2.รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย มีความตระหนักถึงการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานและ Clean Food Good Taste 2.โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร 3.เกษตรกรเอนไซม์คอลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยและปกติเพิ่มขึ้นและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคประกอบอาชีพ 4.ผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำเด็กให้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 16:17 น.