กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ชุมชนตำบลวังประจัน ปลอดลูกน้ำยุงลาย
รหัสโครงการ 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 22,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรสนาบินหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์กาเส็มส๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.753,100.16place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยในปี 2560 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงธันวาคม 2560 ไม่มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก แต่ยังพบผู้ป่วยเข้าข่ายโรคไข้เลือดออกจำนวน 9ราย คิดเป็นอัตราป่วย 300.60 ต่อแสนประชากร จึงต้องมีการเฝ้าระวังการระบาด ช่วงการระบาดในช่วงเดือนมีนาคม–กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่ 1 พอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดเชื้อไวรัสซิก้าในสถานศึกษาและชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล...ปี 2560 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สำรวจ 3 ครั้ง ทั้งหมด 4 หมู่บ้านโดยครั้งที่ 3 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 2 หมู่บ้าน และยังมีอีก 2 หมู่ที่ยังมีค่า HI สูงกว่า 10 คือ หมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 3 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของหมู่บ้านทั้งหมด และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 9 แห่ง พบว่ามีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด งานควบคุมโรคติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันจึงตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

1.ค่า HI (House Index) ดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบใน หมูบานไม่เกินร้อยละ 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ (รอยละของการพบลูกน้ำยุงลายในบานที่ทําการสํารวจในพื้นที่) 2. ค่า BI (BreteauIndex)ดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในภาชนะต่างๆ ในครัวเรือน ไม่เกินร้อยละ 50 (จํานวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายใน 100 หลังคาเรือน)

80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด

1.ค่า CI (Container Index) คาดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ พบในอาคารสถานที่และโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (รอยละของการพบลูกน้ำยุงลายในภาชนะใสน้ำ) เป็น 0 ร้อยละ 100 ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ

100.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

100.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค 50 6,800.00 6,800.00
1 ก.ค. 61 - 1 ก.ย. 61 2. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำประจำครอบครัว ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 50 6,800.00 6,800.00
1 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 3. กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 60 9,000.00 9,000.00
รวม 160 22,600.00 3 22,600.00

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค 2. จัดตั้งทีมพิชิตยุงลายประจำหมู่บ้าน ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน และรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายปีละ 4 ครั้ง 3. พัฒนาศักยภาพแกนนำประจำครอบครัว ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 รุ่น
4. ประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลวังประจัน 4.1 ทีมพิชิตยุงลาย. ประชาสัมพันธ์ และแจกบัตรเข้าร่วมโครงการฯ ให้กับประชาชน ในเขต พื้นที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 4.2 ทีมพิชิตยุงลาย ออกสุ่มลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งสุ่มในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ทุกแห่ง ในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน โดยทำการสุ่มเดือนละ 1 ครั้ง
4.3. ทีมพิชิตยุงลายคัดเลือกบ้าน ซึ่งบ้านที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องไม่พบลูกน้ำยุงลายเลย แม้แต่ตัวเดียว โดยบ้านที่ปลอดลูกน้ำยุงลายจะได้รับคูปอง และมีสิทธิ์ได้ลุ้นรับรางวัลจากกองทุนฯ
4.4. มอบรางวัลบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและความชุกของลูกน้ำยุงลาย ลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2561 10:40 น.