กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC
รหัสโครงการ 61-L3359-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิรติศรัยหนูเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,100.107place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ของแต่ละบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้นๆ จากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ จากการเปิดเผยข้อมูลของชมรมโภชนวิทยามหิดลในปี 2552 โดยพลเอกนายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ พบว่าสถิติคนไทยตายด้วยโรคกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรม หรืออ้วนลงพุง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวาน รวมวันละ 216 คน หรือชั่วโมงละ 10 คน นั่นคือทุก 6 นาทีต่อ 1 คน ปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วน และอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็มเพิ่มขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลง และขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย DPACในบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑,๒,๔และหมู่ที่ ๖ ขึ้น เพื่อให้ประชากรที่มีปัญหาอ้วน ลงพุง ดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน คือชายรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร หญิงรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน ควนถบ ได้ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเอว ลดพุง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง

 

0.00
2 เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

0.00
3 เพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีรอบเอวลดลง

 

0.00
4

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,100.00 0 0.00
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดพุง หุ่นดี ด้วย DPAC 0 8,100.00 -

๑ .ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒.สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมจัดทำทะเบียนข้อมูล ประชากรที่มีรอบเอวเกิน และค่า BMI เกินเกณฑ์
๓. สร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการและการดำเนินงาน ของโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ๔.ให้ความรู้เรื่องอันตรายของโรคอ้วนลงพุง และดำเนินกิจกรรมคือ วัดรอบเอวบุคลากรในองค์กร และ อสม.ทุกคนในการประชุมประจำเดือนของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ทุกเดือน
๕. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยหลัก ๓ อ.ได้แก่
- อาหาร และการบริโภคลดปริมาณอาหารรสหวานและไขมัน อ้วนลดได้ เป็นแนวทางปฏิบัติ
- การออกกำลังกายและสาธิตการออกกำลังกาย - การจัดการอารมณ์ ให้เป็นผู้มีอารมณ์ดี แจ่มใส ไม่เครียด
๖. สนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกาย ในเวลา๑๘.๐๐ – ๑๘.๓๐ น. ณ สถานที่ๆกำหนด ๗. จัดคลินิกลดพุง ลดโรค ทุกวันพุธ เวลาบ่าย ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ ๘. ประเมินผลโดยวัดรอบเอว ประเมินค่า BMI ทุก ๑ เดือน เป็นเวลา ๖ เดือน ๙. สร้างแรงจูงใจในการลดเอวและน้ำหนักโดยการประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลต้นแบบเพื่อสร้างแรงกระตุ้นและเป็นกำลังใจ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการฯ ๑๐. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนฯ ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีบุคคลต้นแบบ/แกนนำในการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอ้วน ลดโรคแก่บุคคลในครอบครัวได้ ๒. บุคลากรในองค์กร มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้การเจ็บป่วยลดลง ๓. มีองค์กรไร้พุงและเกิดบุคคลต้นแบบลดพุง ลดโรค ในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2018 11:16 น.