กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีที่ยืนยาว
รหัสโครงการ 61-L5195-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการ อสม.รพ.สต.นาปรัง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 25,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวริญญา บัวรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางอุไรวรรณ สุนทะโก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.61place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน
5.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน(คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงคือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่ได้รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์การควบคุมการสูบบุหรี่เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2517 แต่ในปี พ.ศ.2551 บุหรี่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์ และไข้มาลาเรียรวมกันและคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปี โดยพบว่ามะเร็งปอด บ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้งการสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกคิ
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2557 พบว่าจำนวนประชากรมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.7) เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน (ร้อยละ 18.2) สูบนานๆครั้ง 1.4 ล้านคน (ร้อยละ 2.5) ในกลุ่มวัยทำงาน (25 - 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 23.5) รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน (15-24ปี) (ร้อยละ 16.6และ 14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2556 พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่า ชี้ให้เห็นว่านักสูบหน้าใหม่อายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเล็งเห็นความสำคัญในโทษและพิษภัยของบุหรี่จึงจัดทำโครงการ ลด ละ เลิก บุหรี่ เพื่อชีวีที่ยืนยาว นี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชนในชุมชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

5.00 190.00
2 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ในชุมชน

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ 3.แต่งตั้งคณะทำงานประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อเตรียมการดำเนินงาน 4.คัดเลือกแกนนำครอบครัวที่สมัครใจเข้าร่วมอบรม 5.อบรมให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัว/อสม.หมู่ที่1-3 6.อบรบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ให้แก่เด็กนักเรียน ระดับชั้น ป.4-ม.3 7.สรุปผลและติดตามการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคบุหรี่และร่วมรณรงค์ เพื่อการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
  2. เยาวชนมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเผยแพร่และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบและรณรงค์ เพื่อการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 11:38 น.