กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสาหร่าย


“ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ”

ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายอับดุลเล๊าะ เส็นสมมาตร

ชื่อโครงการ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ที่อยู่ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5299-02-09 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 พฤษภาคม 2561 ถึง 28 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสาหร่าย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น



บทคัดย่อ

โครงการ " กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 61-L5299-02-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 พฤษภาคม 2561 - 28 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสาหร่าย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

"การตั้งครรภ์" หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกาย วัย ภาวะ ด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้นๆ แต่ถ้าหากเกิด ขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น "เด็กหญิง" ซึ่งมีอายุระหว่าง ๙ - ๑๙ ปีก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัว เด็กเอง และครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ตั้งแต่ปี๒๕๔๐ - ๒๕๕๑มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีนคือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐ – ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจานวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการท้องใน วัยทีน ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็น ปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก แต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยทีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว คือค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั่นเอง
วัยรุ่นหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปีซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการคือมีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ และมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิ ทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆเช่นห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำงานเยาวชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป หากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ เป็นต้นในด้านพัฒนาการทางอารมณ์ และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองต้องการการยอมรับจากเพื่อน
ดังนั้น วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตัวเอง รวมถึงขาดทักษะในการ ดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรม
เสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตร ทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อ HIV ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทยในปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ ๑ ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตราส่วนสูง กว่าวัยรุ่นในยุโรป และอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน น้อยสุด ๑๒ ปี และไม่เกิน ๑๙ ปี
เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคต ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ตำบลเกาะสาหร่ายจึงจัดทำโครงการ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบลเกาะสาหร่ายขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  2. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเพศ

๒ เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

วันที่ 14 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทางกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมที่ 2 ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้                 2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถาณการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควร ในประเทศไทย                 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง                 2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ                 2.4  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ กิจกรรมที่ 3 ผู้นำกระบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 82 คน ผลลัพธ์ : ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์เรื่องเพศ การป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ทำให้เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
ตัวชี้วัด :
0.00 82.00

 

2 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
ตัวชี้วัด :
0.00 82.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 82
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 82
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น (2) เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5299-02-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอับดุลเล๊าะ เส็นสมมาตร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด