กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยทีมสุขภาพชุมชน ในเขตบริการ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3312-03-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานกลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักาพยาบาลสูง บางรายรุนแรงถึงขั้นต้องตัดอวัยวะส่วนปลายบางส่วนหรือาจเสียชีวิต จากรายงานภาพรวมทั้งประเทศพบว่าปี 2558 อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เท่ากับ 17.83 และ 11.58 ต่อประชากรแสนคน สำหรับจังหวัดพัทลุงพบว่าปี 2558 อัตราผู้ป่วยต่ายด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เท่ากับ 20.90 และ 17.06 ต่อประชากรแสนคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 198 คน พบว่ามีปัญหาที่ต้องดูแลเร่งด่วน จำนวน 30 คน จากการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยยังปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ส่งผลต่อเนื่องให้มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นตามมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง จึงได้จัดโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยทีมสุขภาพชุมชนขึ้น เพื่อให้ทีมสุขภาพชุมชนดูแลผู้ป่วยให้สามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความรุนแรงของโรค ป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

อัตราไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ทีมดูแลสุขภาพสามารถดูแลผู้ป่วยในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

ผู้ป่วยและญาติดูแลสุขภาพได้ถูกต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 พ.ค. 60 - 11 ส.ค. 60 ค่าตอบแทนทีมสุขภาพ จำนวน 30 คน ในการลงเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน คนละ 10 ครั้ง 30 9,000.00 -
1 มิ.ย. 60 ค่าตอบแทน 0 9,000.00 -
14 - 15 มิ.ย. 60 ค่าอาหารว่างและเคร่ื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ทีมสุขภาพดูแลผู้ป่วย 30 คนๆ พร้อมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 1 วัน 30 1,800.00 -
14 มิ.ย. 60 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 1,800.00 -
19 มิ.ย. 60 - 11 ส.ค. 60 จัดทำทะเบียนติดตาม ประเมินผลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 30 ชุด จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 30 5,410.00 -
7 ก.ค. 60 - 11 ส.ค. 60 ทีมสุขภาพร่วมกับผู้นำชุมชน อปท. สหวิชาชีพ ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือ ควบคุมความดัน ระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี 63 0.00 -
7 ก.ค. 60 จัดทำทะเบียนติดตาม 0 5,410.00 -
รวม 153 32,420.00 0 0.00

1.ขั้นเตรียมการ จัดทำเสนอโครงการขอสนับนุนงบประมาณจากกองทุนฯ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วย ประชุม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ทีมสุขภาพชุมชนดูแลผู้ป่วย เพื่อดูแลผู้ป่วยและมีการฝึกปฏิบัติจริงแก่ผู้ป่วยในชุมชนจริง จัดทำทะเบียนติดตาม ประเมินผลสุขภาพผู้ป่วย จัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย ทีมสุขภาพลงเยี่ยมติดตามผู้ป่วยที่พักอาศัยในชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติได้มีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลและการดูแล ผู้ป่วยได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ ทีมสุขภาพร่วมประชุม วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย ทีมสุขภาพร่วมกับ อปท.สหวิชาชีพ ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน
3.ขั้นสรุปผลโครงการ สรุปผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยดูผลค่าระดับน้ำตาลสะสม HA1Cน้อยกว่า7 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง น้อยกว่า 140/90 รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งวัดได้จากสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วย 2.ผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าระดับน้ำตาลสะสม HA1Cน้อยกว่า 7 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีค่า น้อยกว่า 140/90 ร้อยละ 80 3.ผู้ป่วยและญาติ มีส่วนร่วมในด้านรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560 11:05 น.