กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเอง
รหัสโครงการ 61-L5195-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการ อสม.รพ.สต.นาปรัง
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 26,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวริญญา บัวรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ นางอุไรวรรณ สุนทะโก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.61place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญเป็นอันดับสามในประเทศไทยรองจากอุบัติเหตุ และโรคหัวใจจากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในสตรีไทย และมะเร็งเต้านมพบเป็นอันดับที่ 2 มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการรอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 60,000 ราย ทั่วประเทศอัตราการเกิดโรคมะเร็งในคนไทยเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี ในคนไทยส่วนใหญ่จะตรวจพบมะเร็งในระยะท้าย ๆ ซึ่งยากต่อการบำบัดรักษา ทำให้มีอัตราการตายจากโรคมะเร็งสูง แม้ว่าในปัจจุบันทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการรักษาโรคมะเร็งแล้วก็ตาม แต่อัตราการตายจากโรคมะเร็งยังคงสูง ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็งในระยะต้น ๆ มักจะไม่มีอาการแสดงของโรคที่ผิดปกติให้ผู้ป่วยรู้ตัวมาก่อน เมื่อผู้ป่วยพบว่ามีอาการและอาการแสดงที่ผิดปกติเกิดขึ้นมักจะลุกลามไปมากแล้ว ซึ่งจะดีมากหากพบในระยะเริ่มแรก โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สามารถดูแลป้องกันได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก การกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตนเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดอัตราการป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุก ๆ เดือน สมารถรับรู้ความผิดปกติของเต้านมได้ ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปรังได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด รพ.สต.นาปรังได้จัดทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวนเป้าหมาย ณ ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 592 คน ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายปีงบประมาณ 2558 สะสมถึงปีงบประมาณ 2560 จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละซึ่งตามเกณฑ์จะต้องได้มากกว่าร้อยละ 80 จะเห็นได้ว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากคิดว่ายังเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับสตรีและปัญหาของสตรีที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับความรู้ความเชื่อ และแรงจูงใจ ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจจึงเป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญ ในการส่งเสริมให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและทาง รพ.สต.นาปรังได้สำสวจพบว่าสตรีในเขตรับผิดชอบเป็นมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1 ราย เป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 3 ราย ซึ่งได้รับการรักษาจาก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี ซึ่งเป็นการรักษาที่รวดเร็ว ระยะมะเร็งยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ ทำให้การรักษาได้ผลดีเนื่องจากเมื่อพบความผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์และรับการรักษาต่อไป ดังนั้น รพ.สต.นาปรัง จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้สตรีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและรับการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

10.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
  2. กลุ่มสตรี อายุ 30-60 ปี จำนวน 382 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมาย คิดเป็นจำนวน 115 คน
  3. กลุ่มสตรี อายุ 30-70 ปีขึ้นไป จำนวน 455 คน ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 95คิดเป็นจำนวน 433 คน ของจำนวนทั้งหมด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 16:11 น.