กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด
รหัสโครงการ 61-L3042-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลตาแกะ
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2561 - 17 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 16 มีนาคม 2561
งบประมาณ 19,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะตอเห โดวาเห็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.844,101.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ก.พ. 2561 13 ก.พ. 2561 19,920.00
รวมงบประมาณ 19,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อน ความทุข์ยากของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงโดยคณะรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติเมื่ิวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๙ เห็นชอบการขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมุ่งสร้างความเข้าใจถึงเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สร้างการรับรู้และดำเนินการให้มีความเชื่องโยงด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เพื่อคืนคนดีสู่สังคม ยาเสพติดถือเป็น"ภัยคุกคามที่กัดกร่อน บ่อนทำลายประเทศชาติ" ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อบุคคล สังคมส่วนรวม และการพัฒนาประเทศ ทำให้สูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศในอนาคต อีกทั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดก่อให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ ไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้าและธุรกิจต่างๆ และที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วย ในการนี้ สถานีตำรวจภูธรระแงะ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงปัญหายาเสพติดที่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ จึงได้ทำโครงการชุมชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 20,000.00 -

๑. ขั้นวางแผนงาน
๑.๑ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
๑.๒ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ
๑.๓ ประชุมมอบหมายภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของโครงการ
๒ ขั้นดำเนินงาน
๒.๑ ติดต่อประสานงานกับวิทยากร
๒.๒ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒.๓ จัดทำป้ายไวนิล
๒.๔ จัดเตรียมสถานที่ในการฝึกอบรม
๒.๕ จัดฝึกอบรม หัวข้อวิชาในการอบรม วันที่ ๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ๑. กิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อมุ่งสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง จำนวน ๒ ชั่วโมง
๒. กิจกรรมให้ความรู้เรื่ิองยาเสพติด จำนวน ๒ ชั่วโมง
๓. กิจกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นความรุนแรงของยาเสพติดจำนวน ๒ ชั่วโมง
๔. กิจกรรมป้องกันตนให้ห่างไกลจากยาเสติดจำนวน ๒ ชั่วโมง
๕. การป้องกันยาเสพติดวิเคราะห์ปัญหาภัยทางสังคมยาเสพติด จำนวน ๒ ชั่วโมง
๖. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่อนาคตที่มั่นคง จำนวน ๒ ชั่วโมง หมายเหตุ
หัวข้ออบรมบางหัวข้ออาจมีเนื้อหาพร้อมปฏิบัติ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ๓. ขั้นสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการ
๓.๑ สอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน
๓.๒ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม
๓.๓ ดำเนินการประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข
๒.ชุมชนมีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
๓. สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน
๔. ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ทางด้านจิตใจในเรื่องยาเสพติดได้
๕. ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายสุขภาพอนามัยและส่งผลกระทบต่อปัญหาของสังคมตลอดความมั่นคงของชาติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2561 20:45 น.