กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ยิ้มสดใส เด็กท่าบอนฟันดี
รหัสโครงการ 61-L5221-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 27,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์สุริมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ก.ค. 2561 27,400.00
รวมงบประมาณ 27,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)
52.30

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ กับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย หากสุขภาพช่องปากและฟันดี ก็ย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมา ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ควรได้การส่งเสริม ป้องกันมากกว่าจะเน้นทางด้านการรักษาและฟื้นฟู ซึ่งใช้งบประมาณในการรักษาที่มากกว่า และปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนก็ต้องยิ่งดำเนินการ เนื่องจากเด็กนักเรียนมีฟันแท้ข้นมาในช่องปากผสมกับฟันน้ำนมถ้าหากมีอาการปวดฟันผู้ปกครองอาจไม่ทราบว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม แต่อย่างไรก็ตามหากนักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ก็จะส่งผลต่อร่างกาย และพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และรำคาญ ไม่เหมาะที่จะเรียนรู้หรือเรียนไม่รู้เรื่องสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ กับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย หากสุขภาพช่องปากและฟันดี ก็ย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมา ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ควรได้การส่งเสริม ป้องกันมากกว่าจะเน้นทางด้านการรักษาและฟื้นฟู ซึ่งใช้งบประมาณในการรักษาที่มากกว่า และปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนก็ต้องยิ่งดำเนินการ เนื่องจากเด็กนักเรียนมีฟันแท้ข้นมาในช่องปากผสมกับฟันน้ำนมถ้าหากมีอาการปวดฟันผู้ปกครองอาจไม่ทราบว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม แต่อย่างไรก็ตามหากนักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ก็จะส่งผลต่อร่างกาย และพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และรำคาญ ไม่เหมาะที่จะเรียนรู้หรือเรียนไม่รู้เรื่อง ผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากในระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่าสถานการณ์การ เกิดโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กประถมศึกษา เป็นร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ย ฟันผุถอน อุด (DMFT) มีแนวโน้ม ลดลงเป็น 1.3 ซี่ต่อคน จากเดิมที่คงที่มาตลอดที่ 1.5 ซี่ต่อคน ซึ่งความชุกของโรคมีปริมาณลดลงอย่าง ชัดเจนในเขตเมือง และเมื่อนํามาเปรียบเทียบกับผลการสํารวจครั้งที่ผ่านๆมาจะพบว่าสภาวะโรคฟันผุ ลดลงเล็กน้อย ส่วนสภาวะเหงือกอักเสบนั้นยังคงเป็นปัญหาแม้ว่าจะพบสภาวะเหงือกอักเสบลดลง จากร้อยละ 58.9 ในปี2550 เป็นร้อยละ 50.3 แต่เกือบครึ่งหนึ่ง(20.7)จะมีสภาวะเหงือกอักเสบโดยมี หินน้ำลายร่วมด้วย เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ให้มีฟันแท้ไว้ใช้งานตลอดมีกิจกรรมต่างๆ ในการดูแลให้เด็กได้แปรงฟันให้สะอาดในเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมและปรับพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพสำหรับนักเรียนที่ฟันแท้ผุไปแล้วและสามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ บุคลากรทางทันตกรรมจะมีการลงพื้นที่หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ให้บริการในโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปากการให้สุขศึกษาบริการทันตกรรม(อุดฟันแท้ , ขูดหินน้ำลาย)การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการติดตามประเมินผลเพื่อให้การรักษารวมทั้งการป้องกันฟันแท้ผุโดยการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึกที่โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ ยิ้มสดใส เด็กท่าบอนฟันดี ให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือ ลดภาวะสูญเสียฟันแท้ก่อนวัย และมีฟันแท้ ไว้ใช้งานได้นานที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนชั้นอ1-ป6 ได้มีความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี

1.นักเรียนมีความรู้ด้านทันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก แก่เด็กนักเรียนชั้นอ.1-ป.6

2.นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนได้รับบริการทันตกรรม(เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก/อุดฟันแท้/ถอนฟัน) ในโรงเรียน และ สถานบริการ

3.1 นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟันได้รับการรักษาและส่งต่อร้อยละ  100 3.2 นักเรียนชั้นป.1ได้รับการป้องกันฟันแท้ซี่แรกผุ(เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก) ร้อยละ100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,222.00 0 0.00
กิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี สุ่มประเมินการแปรงฟันหลัง โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 30,800.00 -
การตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 400.00 -
ให้บริการทันตกรรม(เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก/อุดฟันแท้/ถอนฟัน) ในโรงเรียน และ สถานบริการ โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 22.00 -
ติดตามผลการแปรงฟัน และคืนข้อมูลสรุปผลสภาวะสุขภาพช่องปาก ประจำปีการศึกษา2561 0 0.00 -

1ขั้นเตรียมการ 1.1 ติดต่อประสานงานกับคุณครูเพื่อขอรับข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 1.2 จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการและขอความร่วมมือในการออกทันตกรรมเคลื่อนที่จากบุคลากรทันตสาธารณสุข 1.3 ติดต่อประสานงานกับคุณครูอนามัยโรงเรียน ในเขตตำบลท่าบอน 5แห่ง 1.4 เตรียมข้อมูล เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 2.1.1 จัดเตรียมเอกสารให้ความรู้ แบบบันทึกสภาวะช่องปาก 2.1.2 ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ สอนแปรงฟัน ,ทดสอบความรู้ก่อน-หลัง.ในนักเรียนชั้น ป1-ป6 2.1.3 กิจกรรมการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวันทุกวัน 2.1.4 สุ่มประเมินการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 2.2.1 ตรวจคัดกรอง และตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมลงบันทึกทันตสุขภาพประจำตัวนักเรียน อ.1- ป. 6 2.3 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 2.3.1 จัดบริการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในโรงเรียนทั้ง 5 แห่ง ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ ให้แก่เด็กอนุบาล 1 และชั้นประถมปีที่ 6 ที่มีหลุมร่องฟันแท้ลึก และรักษา complete case ในเด็กอนุบาล1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลระโนด
3. ระยะหลังดำเนินการ 3.1 สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนชั้นอ1-ป6 มีความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2561 11:12 น.