กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาเด็กอายุ 0-5ปี
รหัสโครงการ L8408-61-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 29,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต แป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 29,190.00
รวมงบประมาณ 29,190.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 522 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มีเด็ก 0-5 ปี ทั้งหมด 543 คนได้รับการเฝ้าระวัง 502 คน คิดเป็นร้อยละ 92.75ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ คือมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 48 คน คิดเป็นร้อยละ 9.56 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 61 คน คิดเป็นร้อยละ 12.15 เตี้ย 40 คน คิดเป็นร้อยละ 7.97 ค่อนข้างเตี้ย 54 คน คิดเป็นร้อยละ 10.76 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ และระดับภาค เป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10ได้กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ต้องไม่เกินร้อยละ 7 ส่วนด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 0.76 พัฒนาการด้านภาษาเป็นปัญหาที่พบมากกว่าพัฒนาการด้านอื่นๆ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการจัดให้มีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี ให้มีการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติพัฒนาการสมวัย ส่งผลให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมพัฒนาการ และเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้เด็กมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีการพัฒนาการตามวัยซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการครอบคลุม
    1. เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กลดลง
  2. เด็ก 0–5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ
  3. เด็ก 0–5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่
    ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  4. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการส่งเสริมโภชนาการและการส่งเสริม พัฒนาการเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2561 10:56 น.