กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 61-L5221-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 43,355.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 34,955.00
2 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2561 400.00
3 1 ก.ค. 2561 31 ก.ค. 2561 8,000.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 43,355.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ตามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลง เด็กส่วนหนึ่งต้องมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมาก อีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้และฟันผุในระยะเริ่มแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา ๖-๑๒ เดือนเด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมีการลุกลามได้เร็วและเริ่มผุในช่วงขวบปีแรก อัตราการผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๓ ปี จากรายงานการสำรวจทันตสุขภาพอำเภอระโนด กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) สภาวะฟันน้ำนมผุ ปีพ.ศ.2557 ร้อยละ 47.7 ปีพ.ศ.2558 ร้อยละ51.51 และปีพ.ศ.2559 ร้อยละ 68.23 จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุไม่มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัย ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรสาธารณสุขหลายฝ่าย มาตรการทางวิชาการที่จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อโรคและยังอาจหยุดหรือชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ได้แก่ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และลดการบริโภคน้ำตาลการใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทาร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา ซึ่งการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์เด็กเล็ก เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กได้เห็นความสำคัญต่อฟันน้ำนม และพฤติกรรมในการดูแลช่องปากที่ถูกต้องจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปีงบประมาณ๒๕60 ให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุและยับยั้งการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและฝึกฝึกทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแก่เด็ก

1.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกปฏิบัติสอนแปรงฟันไม่น้อยกว่าร้อยละ70

0.00
2 2.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

2.เด็ก 3-5ปี ได้รับการตรวจ สุขภาพช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการทางทันตกรรมอุดฟันน้ำนม

3.เด็ก3-5ปี ได้รับการรักษาที่ เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,434.00 0 0.00
ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและฝึกทักษะแก่ผู้ปกครอง ครูได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 34.00 -
การตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 400.00 -
ให้บริการทันตกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อุดฟันน้ำนม โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 0 8,000.00 -
ติดตามผลการแปรงฟัน และคืนข้อมูลสรุปผลสภาวะสุขภาพช่องปาก ประจำปีการศึกษา2561 0 0.00 -

1ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ 1.2 จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการและขอความร่วมมือในการออกทันตกรรมเคลื่อนที่จากบุคลากรทันตสาธารณสุข 1.3 ติดต่อประสานงานกับคุณครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลท่าบอนทั้ง 4 แห่ง 1.4 เตรียมข้อมูล เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 2.1.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครอง ครู ได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก 2.1.2 จัดส่งเสริมสิ่งสนับสนุนทางทันตสุขภาพได้แก่ชุดอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน 2.1.3 กิจกรรมการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวันทุกวัน 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 2.2.1 ตรวจคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข 2.3 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 2.3.1 จัดทันตบุคลากรออกปฏิบัติงาน ประกอบด้วยกิจกรรมบริการทันตกรรมตามสภาวะในช่องปาก (อุดฟันน้ำนม ) 3.ระยะหลังดำเนินการ 3.1 สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง ครูได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเห็นถึงความสำคัญต่อฟันน้ำนม และพฤติกรรมในการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2561 15:05 น.