กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2536-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. ตำบลปูโยะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนงเยาว์ เกษกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 77 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข จัดงานวันไอโอดีนแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่คนไทยจากผลการสำรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์และความครอบคลุมเกลือไอโอดีนที่มาตรฐานระดับครัวเรือน ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกยังอยู่ระดับที่ไม่น่าไว้วางใจจึงยังต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานและต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องให้ประชากรในพื้นที่ได้รับสารไอโอดีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายโรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ เป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะ ปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนอายุ 2-3 ปี โดยมี ผลลดความเฉลียวฉลาด หรือไอคิวของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวัน วันละ 100-150 ไมโครกรัม ในส่วนของหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้งหรือพิการตั้งแต่กำเนิดเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอกเพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มและขนาดเซลล์สมองและช่วยสร้างโครงข่ายใยประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกันสร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปูโยะได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนที่ต่อเนื่อง และเฝ้าระวังติดตามอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิวซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชน องค์กรในระดับหมู่บ้านเกิดความเข้าใจ และร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งจะส่งผลให้โรคขาดสารไอโอดีนลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ สร้งความเข็มแข็งในชุมชน พัฒนาชุมชนเพื่อเป็นหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้าน

อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในเรื่องไอโอดีน ทุกคน

2 - เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ให้มีพัฒนาการสมวัย - เพื่อให้ประชาชนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนและอาหารเสริมไอโอดีน ทุกหลังคาเรือน

ทุกหลังคาเรือนได้รับสนัสนุนเกลือเสริมไอโอดีนและมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อสม.จำนวน คน 77 5,925.00 5,925.00
1 ส.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมสนับสนุนเกลือเสริมไอโอดีนแก่ประชาชน 77 20,055.00 20,055.00
รวม 154 25,980.00 2 25,980.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 พิธีเปิดโครงการ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม. 2.3 สนับสนุนเกลือเสริมไอโอดีนแก่ประชาชน จำนวน ๖ หมู่บ้าน 2.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพในการพัฒนาเป็นหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้าน
  2. ประชาชนในตำบลปูโยะบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนทุกหลังคาเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560 14:25 น.