กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลอดบุหรี่ในศาสนสถานตำบลบูกิต
รหัสโครงการ 61 – L2479 – 2 - 17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอิหม่าน คอเต็บ บิหลัน อำเภอเจาะไอร้อง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2017 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2018
งบประมาณ 29,655.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหามะนาวารี หะยีดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะ ของประชาชนในชุมชน
60.00
2 จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน(จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)
20.00
3 ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
20.00
4 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน (คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น เรื้อรังโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2549 พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน พื้นที่ในตำบลบูกิต มีศาสนสถาน ทั้งหมด 18 แห่ง โดยแยกเป็น มัสยิด 17แห่ง สำนักสงฆ์ 1แห่ง และมีประชาชนที่มาประกอบศาสนกิจมีพฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ในเขตศาสนสถาน จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่จากบุหรี่มือ 2 ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ รัฐบาลได้มีการรณรงค์ให้ประชาชน ได้เห็นถึงโทษของการสูบบุหรี่ เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึง และลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ โดยรณรงค์ให้ทุกคนใส่ใจกับสุขภาพของตนเองรวมถึงผู้ที่อยู่ใกล้เคียง แต่แนวโน้มของผู้ที่สูบบุหรี่มีเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของตำบลบูกิตมีการสนับสนุนแนวทางของภาครัฐ จึงได้ประกาศเขตปลอดบุหรี่ขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ศาสนสถานบางแห่งซึ่งถือว่ายังไม่ครอบคลุมทั้ง 18 แห่ง ของศาสนสถานในตำบลบูกิต
ชมรมอิหม่าน คอเต็บ บิหลัน อำเภอเจาะไอร้อง เล็งเห็นโทษของการสูบบุหรี่ ทั้งจากที่สูบเองและจากบุคคลอื่นสูบบุหรี่ จึงเห็นควรจัดโครงการส่งเสริมการปลอดบุหรี่ในศาสนสถานตำบลบูกิตทุกแห่ง ขึ้น เพื่อช่วยให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกที่ดีที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง และของผู้อยู่ใกล้เคียง ภายใต้ความรู้ที่ถูกต้องว่าบุหรี่มีโทษอย่างไร และก่อให้เกิดโรคโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ การมีสุขภาพดีที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งร่างกายจิตใจการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน สังคม อย่างมีความสุขซึ่งจะเป็นพลังในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะ ของประชาชนในชุมชน

การได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะลดลงเหลือ(ร้อยละ)

60.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)

20.00 5.00
3 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ในชุมชน

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น(คน)

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาและอนุมัติโครงการ 2. แต่งตั้งคณะทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ ระดับตำบล 3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ และให้ความร่วมมือกับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
4. จัดทำทะเบียน กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยงรวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชน ร้านขายบุหรี่ที่ใกล้กับสถานศึกษา ฯลฯ 5. สนับสนุนให้ชุมชนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นศาสนสถานปลอดบุหรี่
6. จัดประชุมคณะทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ ระดับตำบล กรรมการมัสยิด/วัด เพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินงานตามโครงการ
7. จัดทำนโยบายและประกาศ ศาสนสถานปลอดบุหรี่
8. จัดระบบเฝ้าระวังโดยแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม.ในกลุ่มเสี่ยง
9. ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่
10. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ โทษของบุหรี่ ในผู้นำศาสนา และ ประชาชน
11. จัดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่และ สร้างกระแส ไม่สูบบุหรี่ สอดคล้องกับงานประเพณี 12. สนับสนุน ให้ความรู้ ช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการ และสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ “กลุ่มติดบุหรี่”
13. สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่ให้เข้าร่วมโครงการ

  1. ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อส่งต่อผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้า รับคำปรึกษาแนะนำและรักษา
  2. สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่เลิกบุหรี่: รางวัลคนต้นแบบ (เลิกสูบบุหรี่)
  3. สนับสนุนให้มีกลุ่ม/ชมรมเลิกบุหรี่
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล บูกิต
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดจิตสำนึกที่ดีที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง และของผู้อยู่ใกล้เคียง
  2. ศาสนสถานมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลด ละ เลิก บุหรี่
  3. มีคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
  4. มีนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2018 20:48 น.