กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนปลอดโรคบ้านสุไหงปาแน (กสค. ปี2) หมู่ที่1
รหัสโครงการ 61-L3013-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกสค. ปี 2 หมู่ที่1
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวยะ ปุโรง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.866,101.289place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 ก.พ. 2561 28 ก.ย. 2561 18,600.00
รวมงบประมาณ 18,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยชุมชนบ้านสุไหงปาแนปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณวันละ 50 กิโลกรัม และคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มเรื่อยๆ(ข้อมูลจากอบต.บานา) เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน จากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง หันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆ ด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มภาวะโลกร้อน และ ของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและการบริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้นและของที่ไม่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดและมีการจัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ในการนี้ กลุ่มกสค. หมู่ที่1จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนปลอดโรคบ้านสุไหงปาแนขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีอันจะเป็นแนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็งต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ยั่งยืน
  1. ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีความเข้าใจ ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง
  2. มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน
  3. ปริมาณขยะลดลง อย่างน้อย 50 กิโลกรัม/วัน
  4. มีเครือข่ายเยาวชนตาสัปรด เฝ้าระวังการทิ้งขยะ
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีการจัดการขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคจากมลภาวะของขยะ
  1. เกิดพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์ทดแทนกองขยะอย่างน้อย 6 จุด และเกิดวันทำความสะอาดประจำปีของชุมชน
  2. สภาพแวดล้อมของชุมชน สะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง แมลงวัน เป็นต้น
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ชุมชนมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ยั่งยืน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนมีการจัดการขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคจากมลภาวะของขยะ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 2.00 -
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การลด การตัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์ 10,650.00 -
กิจกรรมวันทำความสะอาดของชุมชน 3,500.00 -
กิจกรรมจัดตั้งและประชุมคณะทำงานเพื่อบริหารจัดการขยะแบบยั่งยืน 1,950.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

    1. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
  1. 2.การจัดทำข้อมูลสถานการณ์ขยะประเภทต่างๆของชุมชน
  2. 3.ให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การลด การตัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์
  3. 4.การจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  4. 5.กิจกรรมวันทำความสะอาดของชุมชน
  5. 6.จัดตั้งและประชุมคณะทำงานเพื่อบริหารจัดการขยะแบบยั่งยืน 7.การขยายเครือข่ายครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะที่ยั่งยืน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
2.ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค 3.ลดปริมาณขยะในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2561 09:20 น.