กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รักลูกด้วยฉีดวัคซีน
รหัสโครงการ 62-L3016-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 17 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มีนาคม 2561 - 27 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวอารีเพ็ญ และมะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พ่อแม่และรณรงค์ฉีดวัคซีนเด็กอายุ ๐-๕ ปีที่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ฉีดวัคซีน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคคอตีบ เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สามารถคร่าชีวิตเด็กๆในอัตราที่สูงมาก อาการของโรคคอตีบ ไข้เจ็บคอ แผ่นฝ้าขาว คอบวม อาการทั่วไปคล้ายโรคไข้หวัด ถ้าหากผู้ป่วยไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อาการของโรคจะรุนแรงถึงเสียชีวิตโดยฉับพลันภายใน ๓ วัน การฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้นกันโรคคอตีบ จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะเป็นแผ่นฝ้าขาว คอบวม ปิดกั้นทางเดินหายใจ ที่จะนำสู่การเสียชีวิตโดยฉับพลันเนื่องจากขาดลมหายใจของเด็กๆได้สถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี๒๕๕๒ ถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วย ๗๔ ราย เสียชีวิต ๑๘ รายส่วนอำเภอเมืองปัตตานี มีผู้ป่วย ๗ ราย เสียชีวิต ๑ รายผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งหมดไม่มีประวัติรับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบเลย การระบาดมีต่อเนื่องเรื่อยมา หลักการสร้างภูมิคุ้มกันโรค(Immunization)หมายถึง การทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันหรือความต้านทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือทำให้ความรุนแรงน้อยลง ซึ่งวัคซีนนี้ได้มาจากเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคซึ่งจะอยู่ได้นานเป็นปีๆ หรืออาจอยู่ได้ตลอดไปการสร้างภูมิคุ้มกันเป็นหน้าที่ของเม็ดเลือดขาว จะสร้าง antibody ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคครั้งต่อไป และจะกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวที่จะมีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคโดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคการให้วัคซีนส่วนใหญ่ต้องให้หลายครั้ง เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นและอยู่ได้นานพอที่จะป้องกันได้ในระยะยาวมีความทรงจำ (memory) ตามระบบของการให้วัคซีนในประเทศไทยเด็กอายุ ๐-๕ปี จำเป็นต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนกระตุ้น จำนวน ๙ครั้งจึงจะครบสมบูรณ์ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรควัณโรค โรคตับอักเสบบี โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้นหลังการฉีดวัคซีนเด็กจะมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน ถ้าไม่มีความเข้าใจในการดูแลอย่างถูกต้อง เด็กจะมีอาการป่วยอย่างอื่นเข้ามาแทรก เช่น ไข้สูงจนชัก ปอดบวมด้วยเหตุนี้พ่อแม่บางส่วนไม่ยินยอมฉีดวัคซีนแก่ลูก ทำให้การปฏิบัติงานของ รพ.สต.ปะกาฮะรัง ไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดร้อยละ ๙๐ ได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนจึงได้จัดทำโครงการพ่อแม่รักหนู พร้อมใจฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พ่อแม่และรณรงค์ฉีดวัคซีนเด็กอายุ ๐-๕ ปีที่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ฉีดวัคซีน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 รณรงค์ฉีดวัคซีนเด็กอายุ ๐-๕ ปีที่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ฉีดวัคซีน

ร้อยละ ๔๐ ของผู้ปกครองเห็นความสำคัญและยินยอมให้ฉีดวัคซีนแก่ลูก

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิเคราะห์ปัญหาด้านทันตสาธารณสุขและแนวทางแก้ปัญหา
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง
  3. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
  4. จัดอบรมและจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ
  5. ติดตาม/ประเมินผล พร้อมสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สอบถามและพูดคุย ความเข้าใจและทัศนคติ ของกลุ่มเป้าหมายหลังการอบรม
  2. สังเกตปฏิกิริยาและการตอบสนอง
  3. ประเมินการให้ความร่วมมือของกลุ่มเป้าหมายแบ่งประเภทโดยการแยกสีดังนี้ สีเขียวหมายถึงผู้ที่ให้ความร่วมมือ อยู่ในเกณฑ์ดีและดีเยี่ยม สีเหลือง หมายถึงผู้ที่ให้ความร่วมมือ เมื่อถูกกระตุ้น เมื่อไม่กระตุ้นจะไม่ร่วมมือ สีแดง หมายถึง ผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือ และต่อต้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2561 15:25 น.