กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค(สธ)
รหัสโครงการ 61-L3013-05-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 217,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำมัดอามิน เลาะเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.866,101.289place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2561 31 ต.ค. 2561 217,500.00
รวมงบประมาณ 217,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 330 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
330.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
11.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
33.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย พื้นที่ตำบลบานา เป็นพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์จากโรคที่เกิดจาขยะมูลฝอย โดยเฉพาะการระบาดของไข้เลือดออก เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดปัตตานี จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ.2558 จำนวน.47 รายปี พ.ศ.2559จำนวน62.รายและ ปีพ.ศ.2560 จำนวน24 ราย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคของประชาชนจากขยะมูลฝอย
  1. มีระบบการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนไม่เป็นโรคภัยจากขยะมูลฝอย
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีความเข้าใจ ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง
0.00
3 เพื่อให้เกิดการจัดการขยะและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  1. สภาพแวดล้อมของชุมชนสะอาด เรียบร้อย น่าอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง แมลงวันเป็นต้น
  2. ทุกหมู่บ้านของตำบลบานา ได้มีการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะโดยชุมชน
  3. ร้อยละ 90 ของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านมีการดูแลรักษาที่อยู่อาศัย และชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 178,150.00 6 201,400.00
จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค 0 11,000.00 11,000.00
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค 0 13,250.00 13,250.00
กิจกรรมสนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนาระบบและกลไกด้านการจัดการขยะ 0 137,500.00 123,800.00
กิจกรรมการเลี้ยงปลากัดเป็นแหล่งขยายพันธุ์ 0 6,500.00 6,500.00
กิจกรรมประกวดบ้านสะอาดครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลายและคัดแยกขยะ - ประกวดบ้านสะอาดระดับหมู่บ้าน ตำบล - อบรมให้ความรู้การควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 0.00 36,950.00
กิจกรรมทำความสะอาดในวันทำความสะอาด 0 9,900.00 9,900.00
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. แต่งตั้งคณะทำงานต่างๆ เช่น
    • คณะทำงานอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) หมู่บ้านละ 5 คน จำนวน 55 คน
    • คณะกรรมการประกวดบ้านสะอาด ระดับหมู่บ้าน จำนวน 11 คน
    • คณะกรรมการประกวดบ้านสะอาด ระดับตำบล จำนวน 5 คน
  3. จัดอบรมให้ความรู้การจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแก่คณะทำงานอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในเรื่อง
    • กระบวนการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่การลด การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์
    • การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
    • การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป.
  4. เลี้ยงปลากัดเป็นแหล่งขยายพันธุ์พร้อมการนำไปแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
  5. จัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้เกิดจิตสำนึกที่ดีต่อการกำจัดขยะ มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม นำไปสู่การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรค เป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  6. สนับสนุนให้คณะทำงานอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ร่วมดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ
    6.1 กำหนดรูปแบบวิธีการบริหารจัดการขยะแบบยั่งยืน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น จัดตั้งธนาคารขยะ กิจกรรมขยะแลกไข่ เป็นต้น 6.2 จัดเตรียมสื่อ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการกำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 6.3 ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการพัฒนาระบบและกลไกด้านการจัดการขยะ ตามรูปแบบ วิธีการที่คณะทำงานได้กำหนดไว้ เช่น การจัดตั้งธนาคารขยะชุมชนกลไกสภาเยาวชนจัดการขยะในชุมชน การมีกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสมสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ เป็นต้น 6.4 เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทำความสะอาดและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ในสัปดาห์ทำความสะอาด 6.5 ประชาสัมพันธ์ รับสมัครบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านสะอาดครัวเรือนปล ลูกน้ำยุงลาย และคัดแยกขยะ 6.6 ร่วมเป็นคณะกรรมการออกตรวจประเมินประกวดบ้านสะอาดครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบลตามลำดับ
    6.7 จัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน เป็นประจำอย่างน้อย5 ครั้งต่อปี
  7. จัดอบรมให้ความรู้แนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออก และการปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ให้แก่ผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านสะอาด
  8. ประเมิน และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลบานา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2561 15:33 น.