กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งปากมดลูก" ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 1,404.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี คำคง
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกร คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.507,100.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 702 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคมะเร็งปากมดลูก พบได้บ่อยขึ้นในสตรีไทย
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสถิติ การคาดประมาณในปี ๒๕๔๓ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่จำนวน ๔๖๖,๐๐๐ราย อยู่ในประเทศที่พัฒนา ๙๖,๐๐๐ ราย และในประเทศที่กำลังพัฒนา ๓๗๐,๐๐๐ ราย ทั่วโลกมีสตรีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๒๓๑,๐๐๐ รายต่อปี และมากกว่าร้อยละ ๘๐ จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยเริ่มพบก่อนอายุ ๒๐ปี แต่พบได้น้อยมากและพบมากที่สุดระหว่างอายุ ๔๕ – ๕๐ ปี และพบว่าเป็นชนิด Squamous cell carcinoma ร้อยละ ๘๐ – ๘๖และเป็นชนิดAdenocacinoma ร้อยละ ๑๒ – ๑๙ ของโรคมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดจากสถิติใน ๕ จังหวัดที่ทำทะเบียนมะเร็งในระดับประชากร ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด๕ ปี เป็นร้อยละ ๖๘.๒ ในจังหวัดเชียงใหม่ และร้อยละ ๕๔.๕ ในจังหวัดขอนแก่น แต่อัตราการอยู่รอด ๕ ปีจะดีขึ้น ถ้าพบในระยะเริ่มแรกจากข้อมูลอัตราอุบัติการใน 5 จังหวัด ในแต่ละภาคของประเทศทำให้คาดประมาณได้ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่ทั้งประเทศรวมกันไม่น้อยกว่า ๘,๐๐๐ รายในปี ๒๕๕๑ โรคมะเร็ง ปากมดลูกในสตรีไทยส่วนใหญ่เป็นมากเมื่อ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปการทำ Pap Smear๑ ครั้งทุก ๕ ปี เนื่องจากขบวนการเกิดโรคมะเร็งหลังจากที่มีการติดเชื้อ Hunman papilloma viruses ชนิด High – risk types จะใช้เวลานานกว่า ๑๐ ปี ในการทำให้เกิดเป็น Invasive cancer จากผลการศึกษาของ Internation Agency for Research on Cancer ( IARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap Smear๑ครั้งทุกปี , ๑ ครั้งทุก ๒ ปี หรือ ๑ ครั้งทุก ๓ ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ ๙๑ – ๙๓ ทำ Pap Smear ๑ ครั้งทุก ๕ ปี จะลดลงร้อยละ ๘๔จึงเป็นการดีที่หากมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในช่วงอายุ และระยะเวลาที่กำหนด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทรตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญของปัญหานี้ และเพื่อสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจภายในเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มเป้าหมาย ในปี พ.ศ ๒๕60 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทรจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพต้านโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก

สตรี อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี  มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80

702.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

สตรีที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 1,404.00 2 1,404.00
22 - 24 พ.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 1,404.00 1,404.00
5 - 7 มิ.ย. 61 กิจกรรมตรวจภายในค้นหาเซลมะเร็ง 0 0.00 0.00

๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ปัญหาของปี พ.ศ. ๒๕60 และค้นหาแนวทางการดำเนินงาน ปี พ.ศ. ๒๕61 ๒. ชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบแนวทางการดำเนินงาน ๓. ประสานบุคคลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ๔. รณรงค์ประชาสัมพันธ์มีเสียงตามสายในหมู่บ้าน โดย เจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ๕. แจกหนังสือเชิญ เพื่อนัดกลุ่มเป้าหมาย ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ๖. ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน จัดรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองในสตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้องกันจากโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 702 คน มีการซักประวัติชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ลงบันทึกในแฟ้มประวัติ และเตรียมอุปกรณ์การตรวจภายใน โดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ตามวันและเวลาที่จัดทำแผนปฏิบัติงานไว้ จำนวนหมู่ละ ๓ คนให้บริการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก(Papsmear) โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัยบ้านน้ำเลือด และดำเนินการแจ้งผลการตรวจ 7.ประเมินผลโครงการประชากรในกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจภายในค้นหาเซลล์มะเร็งปาก มดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๒๐
๒ สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ๓ สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบภาวะผิดปกติ ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกระยะรุนแรงได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2561 14:07 น.