กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L2479-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 29,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภาษิต เจ๊ะแน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เท้าและข้อเท้าของผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ คือย่อมมีการเสื่อมไปตามวัยที่เพิ่มขึ้นโดยโรคเท้าและข้อเท้ามักจะเกิดจากความเสื่อมของกระดูกและเส้นเอ็นส่งผลให้การทำงานลดลงการเคลื่อนไหวได้ลำบากมากขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการเดินและช่วยเหลือตัวเองลดลงโดยอาจจะมีสาเหตุมากจาก 2 โรคเท้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดังนี้

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ(Plantar Fasciitis)คือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง40-70 ปีโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสาเหตุ เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าโดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานานมักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึงซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำขาดการออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักแต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการปวดมักจะดีขึ้นหากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากๆได้

โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง โรคนิ้วหัวแม่เท้าโก่ง (Hallux Valgus) ได้แก่ภาวะที่มีการโก่งผิดรูปของนิ้วหัวแม่เท้าโดยมักโก่งออกด้านนอกทำให้มีส่วนนูนที่ด้านในของเท้าพบได้บ่อยในประชาชนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 40-70 ปีพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักพบร่วมกับโรคเท้าแบนสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบเชื่อว่าเกิดจากการใส่รองเท้าที่บีบแน่นด้านหน้าหรือเมื่อเกิดเท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้าจึงบิดเข้าด้านในมากกว่าปกติในบางครั้งหรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อาการของโรคปวดด้านในรองเท้า ตรวจตำแหน่งที่มีกระดูกนูน บางครั้งมีชาออกปลายนิ้วหัวแม่เท้าถ้านิ้วโก่งมาก นิ้วเท้าที่สองจะถูกเบียด ขี่นิ้วหัวแม่เท้าทำให้ใส่รองเท้าลำบาก สุขภาพของเราขึ้นอยู่กับการไหลเวียนที่ดีของกระแสเลือดน้ำเหลืองและกระแสประสาทร่างกายของเราเหมือนเครือข่ายการไหลเวียนที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนทุกส่วนเชื่อมโยงประสานงานกันโดยเฉพาะเท้าเป็นช่องทางไหลเวียนขนาดเล็กเมื่อเทียบกับร่างกายโอกาสที่จะอุดตันจากของเสียต่างๆจึงเกิดขึ้นได้ง่ายหากไม่ขยับขยายช่องทางที่อุดตันก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้การแช่เท้าในน้ำร้อนมีผลในการเร่งให้เลือดลมเดินคล่องเส้นเอ็นแผ่ขยายจึงช่วยบำรุงอวัยวะภายในที่ฝ่าเท้าคนเรามีเส้นโลหิตกระจายกันมากมายการแช่เท้าในน้ำร้อนจะทำให้เส้นโลหิตฝอยขยายตัวกระตุ้นให้โลหิตหมุนเวียนเร็วขึ้นสนองสิ่งบำรุงให้แก่เท้ามากขึ้นคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนขาขจัดความเมื่อยล้าได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประเมินเท้าในผู้สูงอายุ ตามระดับความรุนแรง4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงปานกลางกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มมีแผล 1) กลุ่มปกติหมายถึงไม่มีแผล เท้าปกติ 2) กลุ่มเสี่ยงปานกลางหมายถึงไม่มีแผล เท้าผิดรูป ผิวหนัง เล็บผิดปกติ ชีพจรที่เท้าผิดปกติหรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ 3) กลุ่มเสี่ยงสูงหมายถึงไม่มีแผล มีประวัติเคยมีแผลที่เท้า เท้าผิดรูป ร่วมกับชีพจรเท้าผิดปกติ หรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ 4) กลุ่มที่มีแผลที่เท้า 2.ทำการทดสอบระดับความเข้าใจการดูแลเท้าด้วยตนเองของผู้สูงอายุก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ 3.จัดอบรมให้ความรู้1วัน วิทยากร - พยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสื่องข้าว -ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เนื้อหา -ทดสอบความรู้ก่อน/หลัง -ความรู้การดูแลเท้าในผู้สูงอายุ -การแช่เท้าในน้ำต้มสมุนไพร 4.ใช้สมุนไพรประมาณ ครึ่ง – 1 กำมือ เช่น ใบเตยเบญจรงค์(อ่อมแซบ)ผักบุ้งบัวบกย่านางรางจืดใบมะขามใบส้มป่อยกาบหรือใบหรือหยวกกล้วยจะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ต้มกับน้ำ1ขัน(ประมาณ 1 ลิตร)เดือดประมาณ5 – 10 นาทีแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบายใช้เวลาแช่เท้าประมาณ 20 นาที ติดต่อกันทุกวัน ระยะเวลา60วันในขณะที่แช่เท้าควรใช้เท้าถูกัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น 5.พยาบาลให้ความรู้เรื่องการดูแลเท้าในผู้สูงอายุด้วยตนเอง 5 ขั้นตอนได้แก่การเช็ดเท้าการตรวจคลำทาโลชั่นการแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรการบริหารเท้าโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการฟังอย่างลึกซึ้งและใช้ทักษะการจับประเด็น 6.ตรวจประเมินความรู้สึกที่เท้าด้วยMonofilamentโดยเจ้าหน้าที่ 6.1ก่อนและสิ้นสุดโครงการวัดระดับความเข้าใจในการดูแลเท้าด้วยตนเองและระดับความรู้สึกต่อการชาที่เท้าจากแบบสอบถามและการตอบคำถามของกลุ่ม 7.ดำเนินการต่อเนื่องโดยกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมแล้วไปแนะนำและสอนการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุและประชาชนที่สนใจดูแลสุขภาพเท้า 8.เจ้าหน้าที่รพ.สต. ตรวจประเมินเท้าผู้สูงอายุด้วยMonofilament โดยเจ้าหน้าที่ หลังแช่เท้าด้วยน้ำต้มสมุนไพรระยะเวลาติดต่อกัน60วัน พบในผู้ที่มีอายุระหว่าง40-70 ปีโดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานสาเหตุ เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าโดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานานมักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึงซึ่งส่วนใหญ่มีผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำขาดการออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยจะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือเมื่อยืนลงน้ำหนักแต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการปวดมักจะดีขึ้นหากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากๆได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินเท้าเบื้องต้น 2.จำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบื้องต้น ก่อนและหลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80 3.จำนวนผู้สูงอายุได้รับการตรวจเท้าและมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการดูแลเท้า 4.ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2561 16:40 น.