กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2536-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดวาตอนียะห์
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ จ่าสิบตำรวจสุรินทร์ สามานุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางนงเยาว์ เกษกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพเด็กแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียนและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดวาตอนียะห์รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการต้องร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ เพื่อดำเนินการโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพและสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพเด็ก ส่งผลให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดวาตอนียะห์ผ่านการประเมินการรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส

ในปี2560นอกจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเด็กตามตัวชี้วัดแล้วศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะเน้นกระบวนการของกิจกรรมให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมของเด็กซึ่งการดำเนินการพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่งเสริมสุขภาพได้นั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพแข็งแรง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80 มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถนะทางร่างกาย ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80 มีน้ำหนัก ส่วนสูง
และสมรรถนะทางร่างกาย ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

3 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตน

ครู ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 90 ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นได้

4

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 ส.ค. 60 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนรายบุคคล 120 2,000.00 2,000.00
11 ส.ค. 60 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลและการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างถูกวิธี 120 16,000.00 16,000.00
14 ส.ค. 60 กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน 120 0.00 0.00
14 ส.ค. 60 กิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 120 1,000.00 1,000.00
15 ส.ค. 60 กิจกรรมแข่งขันกีฬาใน ศพด. 120 6,000.00 6,000.00
16 ส.ค. 60 กิจกรรมประกวดระบายสีการป้องกันโรคไข้เลือดออก 120 3,000.00 3,000.00
16 ส.ค. 60 ชุมนุมสุขาน่าใช้ 120 1,000.00 1,000.00
17 ส.ค. 60 ชุมนุมสร้างสุขภาพ 120 5,000.00 5,000.00
18 ส.ค. 60 ชุมนุมอาหารสะอาด ปลอดภัย 120 4,000.00 4,000.00
รวม 1,080 38,000.00 9 38,000.00
  1. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการคนเท่ห์กินผัก คนน่ารักกินผลไม้
  3. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ
  4. ประเมินผลการดำเนินการและรายงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีภาวการณ์เจริญเติบโตที่ดี มีน้ำหนัก/ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 2.เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และได้รับภูมิคุ้มกันโรค ปราศจากโรคและไม่เจ็บป่วยง่าย 3.ครูและผู้ปกครอง เด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในทักษะการป้องกันอุบัติเหตุได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 10:02 น.