กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ลดการใช้ยาแก้ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ
รหัสโครงการ 61-L2532-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลูบี
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.กะลูบี
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯอบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.876,101.764place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปัญหาการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขและยาของประชาชน ยังคงเป็นจุดบอดที่ภาครัฐยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ร้านค้าในหมู่บ้านจึงเป็นทางเลือกเดียวที่มีพร้อมทั้งเครื่องใช้อุปโภค บริโภค รวมไปถึงยาสามัญประจำบ้าน ยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน และยาชุด เมื่อมีอาการเจ็บป่วย จะนึกถึงร้านขายของชำใกล้บ้านเป็นแห่งแรก อีกทั้งยังมีรถเร่ขายยาแก้ปวดสารพัดนึก โดยชาวบ้านยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ว่ายาเหล่านี้มีสารสเตียรอยด์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ซึ่งจากการสำรวจร้านขายของชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลมาโมง พบว่า มีการใช้ยาชุด ยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ และยาอันตรายในทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อย หรือปวดข้อเรื้อรัง มักจะใช้ยาที่มีส่วนประกอบของสารสเตียรอยด์จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีการลักลอบจำหน่าย ยาชุด ยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ ยาอันตรายภายในร้านชำเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะคุชชิ่ง (Cushings syndrome) หรือต่อมหมวกไตบกพร่อง (Adrenal insufficiency)และนำไปสู่ปัญหาการแพ้ยาซ้ำ และปัญหาเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การจัดโครงการนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา และบทลงโทษทางกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่นำยาชุด ยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ และยาอันตรายมาจำหน่ายในชุมชนอีก และเพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบที่สามารถลดปัญหาการใช้ยาได้อย่างเหมาะสมและเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลแก่อำเภอข้างเคียงต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยตนเอง

ชุมชนสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้เอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชาสัมพันธ์และประสานกลุ่มเป้าหมาย และผู้สนใจทั่วไป เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม 2. ให้ความรู้เรื่องยาสมุนไพร รวมถึงโทษของสารสเตียรอยด์
3.จัดกิจกรรมสาธิต การตรวจสารสเตียรอยด์ ด้วยชุดทดสอบสารสเตียรอยด์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีความตระหนักถึงพิษภัยที่อาจจะเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 2.ชุมชนสามารถทดสอบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้เอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2561 10:17 น.