โครงการคัดแยกขยะเพื่อลดมลพิษในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการคัดแยกขยะเพื่อลดมลพิษในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 61-L5291-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขอนคลาน |
วันที่อนุมัติ | 23 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 กุมภาพันธ์ 2561 - 27 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 27 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 7,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจารุวรรณ มาลาสัย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.998,99.691place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 58 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในแต่ละวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขอนคลานพบมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของศูนย์ฯ ได้แก่ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กล่องนม เศษอาหาร แพมเพิส ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบมีขยะที่มาจากโรงเรียนซึ่งอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน ด้วยการจัดการที่ยังไม่ดีมากนักทำให้เกิดขยะตั้งกองรวมกันบริเวณศูนย์ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนภายในศูนย์ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค เช่น หนู แมลงสาปแมลงวันจากการวิเคราะห์พบว่า ร้อยละ 70 % ของขยะภายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นขยะที่นำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ดังนั้นการคัดแยกขยะจะทำให้ทางศูนย์รู้ว่าควรกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไรจึงเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณหรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่การคัดแยกขยะเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อระบบการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และจะสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคด้วย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขอนคลาน เล็งเห็นความสำคัญ และต้องการลดปริมาณขยะในศูนย์ สร้างกระบวนการคัดแยกขยะให้เกิดขึ้นและสามารถป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจจากการทิ้งขยะผสมรวมกันทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนส่งผลให้เด็กไม่มีสมาธิในการจัดการเรียนการสอนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กเล็กในศูนย์ฯและอีกอย่างหนึ่งก็สามารถนำขยะที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของเด็กและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยนำวัสดุเหลือมาประยุกต์ใช้กลับมาเป็นนวัตกรรมเกิดประโยชน์กับการเรียนรู้ของเด็กโดยตรง และเป็นการปลูกฝังโดยเด็กได้คิดเองทำเองใช้เอง ซึ่งจะสร้างองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดขยะในศูนย์ และยังสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก การที่เราได้ปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักคิดด้วยตนเองตั้งแต่เด็กให้รู้จักวิธีรักษาตนเอง รู้จักการแก้ปัญหาการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็กตั้งแต่เยาว์วัย และเมื่อสิ่งที่เขาทำเป็นตัวอย่างที่ดีจะเป็นการสร้างประโยชน์กับตนเองและชุมชนในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผักผลไม้ เกิดกิจกรรมการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสิ่งแวดล้อมที่ดี |
0.00 | |
3 | เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณขยะมูลฝอยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 7,700.00 | 0 | 0.00 | 7,700.00 | |
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการคัดแยกขยะแต่ละประเภทต่างๆ | 0 | 7,700.00 | - | - | |||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 7,700.00 | 0 | 0.00 | 7,700.00 |
1.. เขียนโครงการขออนุมัติเพื่อจัดทำโครงการ 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สะอาด ปราศจากสัตว์นำโรค 4. สรุปผลการดำเนินโครงการ 5. รายงานผลการดำเนินโครงการ
- เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมที่ดี
- ปริมาณขยะในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2561 10:44 น.