กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด


“ โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561 ”

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสุกัญญา ขำยา ประธานทีมสุขภาพคลีนิกเติมยาโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านต้นไทร

ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 มกราคม 2561 ถึง 20 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 มกราคม 2561 - 20 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,814.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นภัยที่คุกคามสุขภาพของสตรีทั่วโลกและสตรีไทยจากสถิติทางสาธารณสุขพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับ๒ รองจากมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถดูแลรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการตรวจพบในระยะแรกและกลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจโรคมะเร็งเต้านม และมีพฤติกรรมดูแลตนเองและรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ตรวจพบความผิดปกติของเต้านมในระยะแรกซึ่งเป็นกลวิธีที่ไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายแต่ถ้าตรวจพบเป็นโรคมะเร็งเต้านมในระยะท้ายๆแล้ว ผลในการรักษา ไม่สามารถรักษาให้หายได้ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวทั้งในด้านร่างกายจิตใจและด้านเศรษฐกิจ
การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรี จะประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมจำเป็นต้องมีกิจกรรมดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องมีรูปแบบที่ชัดเจนบ้านต้นไทรตำบลนาโหนดจึงได้จัดอบรมสตรีเพื่อรณรงค์ให้สตรีในชุมชน มีความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนจึงจะทำให้สามารถลดความรุนแรงและอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านมได้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสตรีในชุมชน โดยการสนับสนุบ ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของสตรีในชุมชนจึง เป็นกลวิธีหรือแนวทางหนึ่งที่บ้านต้นไทรคาดว่าจะสามารถดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในสตรีได้ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นให้มีการจัดกิจกรรมด้านการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ๓๐ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยการตรวจเต้านมได้ถูกต้อง
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือสตรีที่มีพบความผิดปกติบริเวณเต้านม ระยะเริ่มแรก ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 600
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 307
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. กลุ่มสตรีอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป ที่รับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการตรวจ เต้านมด้วยตนเองพร้อมบันทึกในคู่มือการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ๒. กลุ่มสตรีอายุ๓๐ ปีขึ้นไปที่รับการอบรมสามารถ ถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ๓. กลุ่มสตรีอายุ๓๐ปีขึ้นไป ที่รับการอบรมและตรวจเต้านมพบภาวะผิดปกติ ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมได้


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    1.1 มีกิจกรรมรณรงค์การให้ความรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยการแจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หมู่ที่ 2 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 122 คน หมู่ที่ 4 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 149 คน หมู่ที่ 5 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 146 คน หมู่ที่ 7 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 160 คน หมู่ที่ 8 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 76 คน หมู่ที่ 9 รณรงค์การให้ความรู้ แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 105 คน หมู่ที่ 11 รณรงค์การให้ความรู้แจกแผ่นพับและปฏิทินเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 149 คน รวมจำนวนทั้งหมด 907 คน 1.2 มีกิจกรรมอบรมตรวจเต้านมด้วยตนเองและให้บริการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่
    หมู่ที่ 2 วันที่ 12 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.00 – 16.00 น.                      ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน พบผิดปกติจำนวน 2 คน หมู่ที่ 9,11 วันที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.00 – 16.00 น.                      ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 42 คน พบผิดปกติจำนวน 1 คน หมู่ที่ 7,8 วันที่ 14 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.00 – 16.00 น.                      ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 51 คน พบผิดปกติจำนวน 6 คน หมู่ที่ 4,5 วันที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.00 – 16.00 น.                    ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 37 คน พบผิดปกติจำนวน 8 คน ร่วมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  170 คน พบเต้านมผิดปกติจำนวน 17 คน ได้รับการผ่าตัด 2 คน พบเป็นโรคมะเร็งเต้านมจำนวน 1 คน ได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ๓๐ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยการตรวจเต้านมได้ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : สตรีกลุ่มอายุ๓๐ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยการตรวจเต้านมได้ถูกต้องร้อยละ๘๐
    725.00 907.00

     

    2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือสตรีที่มีพบความผิดปกติบริเวณเต้านม ระยะเริ่มแรก ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือสตรีที่มีพบความผิดปกติบริเวณเต้านม ระยะเริ่มแรก ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
    907.00 907.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 907
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 600
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 307
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ๓๐ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยการตรวจเต้านมได้ถูกต้อง (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือสตรีที่มีพบความผิดปกติบริเวณเต้านม ระยะเริ่มแรก ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการใส่ใจสุขภาพ "ต้านโรคมะเร็งเต้านม" ปีงบประมาณ 2561 จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสุกัญญา ขำยา ประธานทีมสุขภาพคลีนิกเติมยาโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านต้นไทร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด