กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ตลิ่งชันรวมใจ ป้องกันภัย มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5179-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 99,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะอาเรน บินหมัด
พี่เลี้ยงโครงการ นางรัญชนา หมะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.969,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2560 99,750.00
รวมงบประมาณ 99,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 736 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 736 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 ในสตรีไทยและทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,500 ราย/ปี และพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8,000คน/ปี สาเหตุเกิดจากความอาย ไม่กล้าเข้ารับการตรวจคัดกรอง ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชันและรพ.สต.ตำบลตลิ่งชันได้ดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการคัดกรองเซลล์มะเร็งปากมดลูกคือ Pap smear จากข้อมูลของการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยสตรีกลุ้มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ในปี 2559 มีผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 38.25 (จำนวน 741) พบเซลล์ผิดปกติ จำนวน 3 ราย ดังนั้น ชมรมอสม.และรพ.สต.ตำบลตลิ่งชันจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดโครงการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงครอบคลุมทั้งหมดโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจคัดกรองและได้รับการตรวจครั้งสุดท้ายมากกว่า 5 ปี และพัฒนาศักยภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 85

0.00
2 2.เพื่อส่งต่อสตรีตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติเข้ารับการรักษา

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเซลล์ผิดปกติได้รับการดูแลและส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด

3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้เข้าร่วมโครงการและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม

ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจมะเร็งเต้านม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 75,660.00 0 0.00
อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย 0 24,090.00 -
อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย 0 24,090.00 -
อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย 0 24,090.00 -
วัสดุ อุปกรณ์ 0 3,390.00 -

ขั้นเตรียมการ : 1.วางแผน 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่เคยตรวจ 3.เสนอโครงการเพื่อของบประมาณ 4.ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน 5.เยี่ยมกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่เคยตรวจ พร้อมส่งแบบสอบถามที่ปฏิเสธเข้าร่วมโครงการ 6.ลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่ปฏิเสธเพื่อชี้แจงและให้ความรู้ 7.นัดหมาย/ประสาน วิทยากร ทีมพยาบาลและผู้ร่วมปฎีบัติงาน 8.จัดเตรียมสถานที่เตรียมเครืองมือ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นดำเนินการ : 1.จัดโครงการอบรมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมายและรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม จำนวน 2 วัน 4 หมู่บ้าน/1วัน ในวันราชการ และเพิ่มวันอาทิตย์อีก 2 วัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ทำงานประจำและไม่สามารถมาได้ในวันราชการ 2.ส่งสไลด์ ห้องชันสูตร รพ.จะนะ 3.เยี่ยมกลุ่มเป้าหมายหลังรับบริการตรวจคัดกรอง แจ้งผลการตรวจ และเยี่ยมติดตามสตรีที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง สตรีที่ไปรับบริการตรวจจากที่อื่น 4.ติดตามเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติและส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด 5.ประเมินความก้าวหน้าและรายงานผลการดำเนินงานแก่หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว ตระหนักถึงพิษภัยของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและเข้าร่วมโครงการ
  2. ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
  3. ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 10:50 น.