กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 61-L2532-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลูบี
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.กะลูบี
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯอบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.876,101.764place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสมทำให้มีโภชนาการที่ดี อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานสำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา รวมไปถึงโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้ด้วยการได้รับวัคซีน ตามเกณฑ์การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก0-5 ปี โดยเริ่มมีการให้วัคซีนเข็มแรก และมีการนัดมารับอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่พบบ่อยในวัยนี้ คิือ การเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมจากการขาดสารอาหาร การขาดไอโอดีนการได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์ โดยสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
จากการประเมินปัญหาในเด็กก่อนวัยเรียนพบว่า พื้นที่ในเขตความรับผิดชอบรพ.สต.กะลูบี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา เด็กมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ 21 คน จากเด็กที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายการเฝ้าระวัง 180คนคิดเป็นร้อยละ 11.67ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 160 คน คิดเป็นร้อยละ 81.78
ดังนั้น รพ.สต.กะลูบีจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การตรวจการพัฒนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และมีการเจริญเติบโต รวมถึงพัฒนาการที่สมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม

 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียน ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่ผิดปกติมาก

เด็กก่อนวัยเรียน ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่ผิดปกติมาก

0.00
3 3. เพื่อเฝ้าระวัง และติดตามโภชนาการในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กได้รับวัคซีนครอบคลุมตามเกณฑ์

ร้อยละ 90 ขอเด็กก่อนวัยเรียนที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ ได้รับวัคซีนครอบคลุมตามเกณฑ์

0.00
5 5.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองและผู้เลี่้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและภาวะโภชนาการต่อเด็ก

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจเด็กที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
  3. มีการติดตามการรับวัคซีนในหมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการ ภูมิคุ้มกันโรค และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย 2.เด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมองที่เจริญเติบโตสมวัย 3.เด็กได้รับวัคซีนครอบคลุมตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น 4.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2561 11:46 น.