กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวประชาร่วมใจต้านภัยโรคไข้เลือดออก เทิดไท้องค์ราชัน
รหัสโครงการ 61-L2532-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กะลูบี
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.กะลูบี
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯอบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.876,101.764place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในรอบระยะเวลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2560 ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.ที่รับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่ของอบต.มาโมงนั้น ได้มีการรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่องทุกปีบางพื้นที่ประชาชนป่วยด้วยโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมากและซ้ำซาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ โดยพื้นที่ความรับผิดชอบทั้ง 4 หมู่บ้าน คือ บ้านกะลูบี บ้านยาเด๊ะ บ้านไอจือเราะ และบ้านไอปูลง มีจำนวนผู้ป่วยสะสมตลอดระยะเวลา3ปี เฉพาะโรคไข้เลือดออกจำนวน 4 ราย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพลักษณะภูมิประเทศของอำเภอสุคิริน เป็นป่าเขา มีฝนตกชุกตลอดปี เหมาะแก่การแพร่พันธุ์ของพาหะนำโรคอย่างยุงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะยุงลายและยุงก้นปล่อง
ในระยะเวลา3ปีที่ผ่านมา ทางกองทุนฯอบต.มาโมง ได้มีการสนับสนุนงบประมาณในการควบคุมโรคให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรพ.สต.กะลูบีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การดำเนินงานในการควบคุมโรค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานปีแรก จำนวนผู้ป่วยไข้มาลาเรียลดลงกว่าร้อยละ50จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง และในระยะเวลา 3ปี ยังไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคมากขึ้น

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค การดูแลตนเองในเรื่องโรคติดต่อ และสามารถดูแลเพื่อนบ้านได้มากขึ้น

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อที่อยู่ในพื้นที่มากขึ้น

0.00
3 3. เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
4 4.เพื่อลดอัตรการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก

ลดอัตตราการป่วยด้วยโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกร้อยละ50 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะดำเนินการ ก่อนการระบาด
1. จัดอบรมทีมงานพ่นสารเคมี เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน 2.สำรวจค่า BI,CI,HI 3.สำรวจข้อมูลและแนวทางการระบาดของโรค รวมถึงการกำหนด นิยามต่างๆ ไว้เพื่อกำหนดทิศทางในกรณีเกิดการระบาดขึ้น 4. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมาย ( กลุ่มอสม. , แกนนำครอบครัว, กลุ่มแม่บ้าน , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มผู้ใช้แรงงาน) เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างการปฏิบัติงาน 5.ทำแผนการออกสุขศึกษา แผนการออกพ่นสารเคมี และเตรียมทรายอะเบท 6.สรุปผลการสำรวจเบื้องต้น เพื่อวางแผนในขั้นต่อไป 7. ออกพ่นสารเคมี ตามแผนครั้งที่ 1และเก็บข้อมูล ปัญหาอุปสรรค ในระหว่างการปฏิบัติงาน มาประเมินแก้ไขในครั้งถัดไป

ระยะดำเนินการ ขณะมีการระบาด 1. ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งหรือจากการค้นหาให้ละเอียดรอบคอบ 2. ลงสอบสวนโรคพร้อมด้วยทำการควบคุม ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม
- สำรวจค่าดัชนีลูกน้้ำยุงลาย - พ่นสารเคมี รัศมี 100 เมตรตามมาตรการ - แจกทรายอะเบท 3. ให้สุขศึกษารายบุคคล/รายกลุ่ม ตามแต่กรณี 4.เก็บข้อมุลที่รวบรวม มาวิเคราะห์หาสาเหตุ 5. เขียนรายงาน 506 ทุกราย 6.ติดตามเฝ้าระวังการเกิดโรคซ้ำ ในระยะเวลา 21 วัน

ระยะดำเนินการ หลังการระบาด 1.ออกให้บริการเชิงรุกในทุกพื้นที่เพื่อเป็นการปฏิบัติการเชิงจิตวิทยาชุมชน 2. ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกราย เพื่อติดตามอาการ 3.ให้สุขศึกษาเพิ่มเติมในการฟื้นฟูและดูแลตนเอง 4.สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย 5.สรุปผลการดำเนินการ เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ แห้ไข เพืิ่อการวางแผนในครั้งถัดไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่มีอยู่ในพื้นที่มากขึ้น 2.มีการบุรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่มากขึ้นต่อเนื่อง ตลอดไป 3.ผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย และไข้เลือดออก ลดน้อยลงทุกปี จนไม่มีผู้ป่วยอีกในอนาคต 4.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประยุกยืใช้ในการควบคุมโรคได้ 5.ชุมชนสามารถพึงตนเองได้ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง 6.ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2561 13:50 น.