กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้มีภาวะเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ
รหัสโครงการ 60-L3066-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตันหยงเปาว์
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทัศน์ อัตถเจริญสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.072place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของประชาชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และปัญหาโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ชุมชนหรือท้องถิ่นจะเจริญก้าวหน้าด้วยดี ต้องมีการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องในทุกๆด้าน เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพ เป็นต้น การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะสามารถช่วยพัฒนาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยพัฒนาให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลให้ดำเนินชีวิตอย่างราบรื่นและมีความสุข จากสถานการณ์โรคปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าความครอบคลุมในการจัดบริการยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ จึงไม่สามารถลดปัญหาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้ เพราะรูปแบบการให้บริการแบบตั้งรับที่สถานบริการอย่างเดียว มองผู้ป่วยเป็นเพียงผู้มารับบริการขาดความละเอียดอ่อนในมิติรอบด้านทำให้ไม่ทราบที่มาของพฤติกรรมส่วนที่เป็นตัวตน และความนึกคิดของผู้ป่วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นไปได้ยากและไม่ยั่งยืนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระบบบริการน่าจะไม่เพียงพอ การพัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพโดยทีมบุคคลากรสาธารณสุขให้บริการเยี่ยมบ้านเพื่อเป็นการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตผู้ป่วยแบบองค์รวม จะเข้าใจวิถีชีวิต บริบทชีวิตของผู้ป่วยเป็นการสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ทำให้ทราบทัศนคติเชิงลึกของผู้ป่วยซึ่งโยงถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้ป่วยต่อไป อันเป็นแนวทางอันดีที่จะให้บริการและสนับสนุนวิชาการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยและผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกนำไปปฏิบัติปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า

 

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานที่รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ
  2. จัดทำโครงการ เสนอ คณะกรรม การองค์การบริหารส่วนตำบล
  3. สรุปผลการตรวจคัดกรอง คัดแยกกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ
  4. ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ
  5. จัดเตรียมสถานที่และติดต่อวิทยากรในการอบรม
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  7. ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข
  8. ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงกลุ่มผู้ป่วยในลักษณะการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสาธิตอาหารตัวอย่าง การออกกำลังกายที่เหมาะสม และวิธีการพักผ่อนที่เหมาะสมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยได้ปฏิบัติจริง และให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค
  9. มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อดูวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตระหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง
  3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง
  4. ลดปัญหาการสูญเสียทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรักษาพยาบาลโดยตรงและค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่ผู้ป่วยต้องหยุดงานและมีขีดความสามารถลดลงหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
  5. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและประชาชนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 14:10 น.