กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรม “บุหรี่” พิษร้ายใกล้ตัว
รหัสโครงการ 60-L7452-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน บุญยงค์ ตำแหน่ง ประธานสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ นายสัญญา วัชรพันธุ์ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่จัดเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย คนไทยจำนวนมากยังคง สูบบุหรี่ แม้ว่าจะทราบถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่เป็นอย่างดี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2542 ประชากรที่สูบบุหรี่ทั่วโลกประมาณ 1,100 ล้านคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะเพิ่มเป็น 1,600 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทย จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี2547 พบว่า คนไทยสูบบุหรี่ประมาณ 11.3 ล้านคน เฉลี่ย 10.38 มวนต่อคนต่อวัน ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งในบุหรี่ 1มวน มีสารพิษมากกว่า 4000 ชนิด และสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน บุหรี่ไม่เพียงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สูบเพียงอย่างเดียว หากแต่ควันบุหรี่ในบรรยากาศ ยังคงเต็มไปด้วยสารพิษอันตรายต่างๆ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนที่ไม่ได้สูบได้โดยง่าย และทำลายสุขภาพจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หายนะประเภทนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกในสังคมซึ่งก็คือ “ควันบุหรี่มือสอง” นั่นเองในแต่ละปีมีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งควันบุหรี่ในบรรยากาศ หรือ ควันบุหรี่มือสองนั้นเกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ ทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่จะทำให้เกิดสารเคมีซึ่งเป็นสารพิษอันตราย ทั้งในควันที่สูดเข้าไปและควันที่ลอยอยู่ในอากาศ เป็นเหตุให้คนใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ไม่แพ้ผู้สูบนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นิยมสูบบุหรี่ เพื่อให้เพื่อนหรือสังคมยอมรับนับเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมความพร้อม 1 เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2ติดต่อประสานงานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการอบรมและ
กิจกรรมตามโครงการ 3ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการอบรม 4จัดจ้างทำเอกสาร/สื่อสุขศึกษา/จัดจ้างป้ายไวนิลความรู้/สื่อนิทรรศการ เครื่องมือในการ
ดำเนินงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมการอบรม

ระยะดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ความรู้พิษภัยของบุหรี่ 1 วันผู้เข้าอบรม จำนวน 200 คน 2. มีการจัดตั้งแกนนำในโรงเรียน(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะประเมินและติดตามผล 1 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ตามโครงการ และรวบรวมหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ 2 เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และประชาชนทั่วไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่ได้
    1. ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วม รณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ 3.มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่ในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 14:49 น.