กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพแบบบูรณาการ 2 วัย
รหัสโครงการ 61-L4117-01-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารีณามะสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอแมกามา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มี.ค. 2561 28 ก.ย. 2561 16,100.00
รวมงบประมาณ 16,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุในเด็กเล็ก มีลักษณะฟันผุหลายซี่ในช่องปากของเด็กเล็ก โดยเฉพาะฟันหน้าบน 4 ซี่ฟันผุในฟันน้ำนมจะลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันมีน้อยกว่าเนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันมีน้อยกว่าโรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้โดยสามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้วยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็กบุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเองและอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมได้แก่ตัวฟัน อาหาร และเชื้อจุลินทรีย์ พฤติกรรมการเลี้ยงดู การทำความสะอาดพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการกินนมขวดฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาของพ่อแม่ รวมทั้งประวัติการมีฟันผุของคนในครอบครัวส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กทั้งนี้เมื่อปี 2560 สถิติฟันผุในเด็กอายุ 0-5 ปี พบว่ามีเด็กเป็นโรคฟันผุถึงร้อยละ 68.62 ของจังหวัดยะลาร้อยละ 73.45 ของอำเภอกาบังและ ร้อยละ 79.21 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส โดยเฉพาะฟันหน้า 4 ซี่ และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันน้ำนมให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ในการพัฒนาด้านใด ๆ ก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส เล็งเห็นความสำคัญของผู้ปกครองที่จะช่วยกันดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในวัยนี้ และผู้ปกครองเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะกำหนดสภาวะทันตสุขภาพของเด็กเล็ก ตลอดจนพฤติกรรมในการดูแลสุภาพช่องปากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพและจัดกระบวนการเรียนรู้เสริมสร้างการดูแลทันตสุขภาพให้กับผู้ปกครองเด็ก

 

0.00
2 2 เพื่อเป็นต้นแบบของการดูแลทันตสุขภาพของชุมชน โดยการจัดประกวดภาวะทันตสุขภาพของผู้ปกครองและเด็ก เพื่อเป็นตัวอย่างทางด้านทันตสุขภาพ

 

0.00
3 3 เพื่อลดภาวะฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 ส.ค. 61 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ 90 16,100.00 16,100.00
8 ส.ค. 61 จัดกิจกรรมโดยการตรวจสุขภาพช่องปากผู้ปกครองและเด็ก พร้อมคำแนะนำ และนัดรับบริการทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง 90 0.00 -
รวม 180 16,100.00 1 16,100.00
  1. ประสานกับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเตรียมการดำเนินงาน
    2ขอความร่วมมือในการสนับสนุนทันตาภิบาลจากเครือข่ายโรงพยาบาลกาบัง 3ประชาสัมพันธ์โครงการร่วมกับอาสามัครสาธารณสุขในการรณรงค์ การประกวดภาวะทันตสุขภาพของผู้ปกครองและเด็ก 4 จัดอบรมผู้ปกครอง จำนวน 90 คน ( 2 รุ่นๆ ละ45คน) โดยแบ่งเป็นฐานให้ความรู้ ดังนี้ ฐานที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับฟันน้ำนม
    ฐานที่ 2 การใช้ยาสีฟันและแปรงสีฟันในเด็ก ฐานที่ 3อาหารที่มีประโยชน์และโทษ และทดสอบให้ผู้ปกครองลอง Shopping อาหารว่าเลือกอาหารที่มีประโยชน์หรือโทษ ฐานที่ 4 สาธิตการแปรงฟันในเด็ก 5 จัดกิจกรรมโดยการตรวจสุขภาพช่องปากผู้ปกครองและเด็ก พร้อมคำแนะนำ และนัดรับบริการทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง (โดยไม่คิดค่าบริการ) พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการประกวดภาวะทันตสุขภาพของผู้ปกครองและเด็ก เพื่อคัดเลือกเป็นครอบครัวต้นแบบ 2 วัย ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนัก และสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยคณะกรรมการตัดสินซึ่งมีหลักเกณฑ์ คือ 1)การคงเหลือของฟันในช่องปากทั้งเด็กเล็กและผู้ปกครอง 2) จำนวนซี่ฟันที่เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อนำเสนอต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน และผู้ดูแลเด็กเข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ทางด้านทันตสุขภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเล็กในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น 2สามารถเป็นครอบครัวตัวอย่างในการดูแลสุขภาพช่องปากของคนในชุมชนได้ 3เด็กก่อนวัยเรียนมีการลุกลามของโรคฟันผุลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 10:59 น.