กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 61-L4117-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวญาณิศา ทองวิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัญญาภัค ยอดเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ก.พ. 2561 28 ก.ย. 2561 16,000.00
รวมงบประมาณ 16,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

 

0.00
2 2เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของร้านอาหารในเขตพื้นที่เป้าหมายลดความเสี่ยงที่บริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

 

0.00
3 3 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,000.00 1 16,000.00
8 มี.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้าและตัวแทน ประจำหมู่บ้านบ้านละ5คน จำนวน 60 คน 0 16,000.00 16,000.00

วิธีดำเนินการ(ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นสรุป) 1. สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหารใน หมู่บ้าน ที่เปิดกิจการใหม่ ปิดกิจการ 2. จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา 3. จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการออกติดตาม ตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย 4. ดำเนินการตามโครงการ 4.1 จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้าและตัวแทน ประจำหมู่บ้านบ้านละ5คน จำนวน 60 คน 4.2 อสม.ที่ผ่านการอบรมออกตรวจและให้คำแนะนำกับหมู่บ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ 4.3 ตรวจแนะนำร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปรับปรุงและพัฒนาด้านสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5. สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค ในเขตพื้นที่เป้าหมายได้รับบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน 2.ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค มีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงและ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 3. ผู้ประกอบการร้านอาหาร / แผงลอยมีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานพัฒนาสถานที่จำหน่าย อาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 11:22 น.