กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯให้แก่โครงการผู้รับทุน
รหัสโครงการ 61-L5180-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าหมอไทร
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชุติมาแกล้วทนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.794,100.751place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 ก.พ. 2561 1,220.00
2 27 ก.ย. 2561 9,300.00
รวมงบประมาณ 10,520.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (10,520.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (45,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
50.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
4.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
15.00
4 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
8.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งในการพัฒนากองทุนระดับตำบลให้สามารถบรรลุตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น จะต้องมีการพัฒนาคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความรู้ ความสามารถ เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบของกองทุนฯ มีความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของกองทุนฯ ได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อบต.ท่าหมอไทร จึงได้จัดให้มีโครงการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.61 ร้อยละ 90
50.00 55.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

4.00 4.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

15.00 20.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

8.00 8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,000.00 0 0.00 45,000.00
28 ก.ย. 61 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและผู้เสนอแผนงานโครงการ เพื่อพิจารณาและอนุมัติแผนงาน/โครงการ 0 45,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 45,000.00 0 0.00 45,000.00
  1. ขั้นตอนกำหนดแผนการประชุมและจัดประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน จำนวนไม่น้อยกว่า ปีละ 4 ครั้ง - จัดการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามวาระที่กำหนด 2. ขั้นตอนการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุน - ประชุมวางแผนงานการจัดอบรมและศึกษาดูงาน - ติดต่อประสานงานหน่วยจัดอบรมและศึกษาดูงานหรือกองทุนจัดเอง - ดำเนินงานด้านพัสดุ - ดำเนินการส่งกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเข้าอบรม หรือกองทุนฯดำเนินการจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานกองทุนฯเอง - ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฯ 3. ขั้นตอนการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม กองทุนฯ (แผนงาน/โครงการ ระยะ 1 ปี) - ประชุมคณะกรรมการกองทุนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการทำแผนฯ - สำรวจปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน - จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุน และประชาชนเรื่องการจัดทำแผนและการเสนอแผนงานโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จำนวน 150 คน - จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการกองทุน และประชาชน จำนวน 25 คน) - นำเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา และคณะทำงานได้รับค่าตอบแทนการประชุมทุกคนทุกครั้ง
  2. คณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในเจตนารมณ์วัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุนฯ
  3. มีแผนงาน/โครงการ ที่มีคุณภาพและตรงต่อความต้องการของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 15:32 น.