กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข
รหัสโครงการ 61-L8300-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2561 - 15 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 9 เมษายน 2561
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสตอปา ตาเละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2561 15 มี.ค. 2561 14,100.00
รวมงบประมาณ 14,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 3 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้ตระหนักถึงคุณค่าและคุณความดีของอาสาสมัคร สาธารณสุขจึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2536 กำหนดให้ วันที่ 20 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นวันที่มีความสำคัญ และมีความหมายต่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่มีความสำคัญต่อการสาธารณสุขในประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2522 เป็นวันที่รัฐบาลได้บรรจุให้การสาธารณสุขมูลฐานเป็นนโยบายและโครงการระดับ ชาติ เป็นกลุ่มบุคคลภายในชุมชนที่ได้รับการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดูแล ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยเพื่อสุขภาพของตนเอง ตลอดจนให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ อสม. ได้นั้นนอกจากจะมีคุณสมบัติตามที่กำหนดแล้ว จะต้องผ่านการคัดเลือกอีกด้วยซึ่งปัจจุบันได้มี อสม. เกือบ 7แสนคน อยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตเมือง ชนบท ที่ทำการถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นเตือน และส่งเสริมชักชวนให้ชาวบ้านในพื้นที่ มีความสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ชาวบ้านมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องมีความสมัครใจ เสียสละ พร้อมทำงานเพื่อสังคมโดยส่วนรวม ทั้งด้านการพัฒนาสุขภาพ คอยแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่คนที่เป็น อสม. ก็ไม่ได้จำกัดอายุ จำกัดเพศ สามารถอ่านออกเขียนได้ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อสม.เปรียบเสมือนคนส่งสาร(Messenger) เพราะจะนำข่าวสารเรื่องสาธารณสุขมาบอกต่อชุมชน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพ เรื่องอนามัยอาหารและที่อยู่ เรื่องอนามัยแม่และเด็ก อนามัยฟัน นำชาวบ้านร่วมกิจกรรมสาธารณสุข เป็นต้น
ฉะนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแว้ง จึงต้องมีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อจัดให้อสม.มีองค์ความรู้ โดยส่งเสริมความเข้าใจ ในเรื่องการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุมมองการดูแลสุขภาพประชาชนในละแวกรับผิดชอบร่วมกับภาคประชาชนอื่นๆที่มีส่วนในการดูแลประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้แก่ อสม. และเครือข่าย ในการดูแลสุขภาพภาคประชาชนในพื้นที่

อสม.และเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลให้คำปรึกษาทางด้านปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วย ภาคประชาชน

0.00
2 ประชุมชี้แจงความรู้เชิงปฏิบัติการ แก่ อสม.และเครือข่าย

ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงสถานบริการ และสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งในสถานบริการของรัฐและในพื้นที่

0.00
3 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายระดับพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของงานเป้าหมายที่เป็นกลุ่มวัยต่างๆ

เมื่อมีเครือข่ายที่เข้มแข็งทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นระบบที่เข้าถึงได้ง่าย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 มี.ค. 61 - 16 ก.พ. 61 บรรยายให้ความรู้การทำงานของ อสม. 100 14,100.00 14,100.00
รวม 100 14,100.00 1 14,100.00

1.ประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาศักยภาพ อสม.เกี่ยวกับงานสร้างสุขภาพ ภาคประชาชน
2.อบรมและทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงาน พร้อมปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขร่วมกัน
3.คัดเลือก อสม.ต้นแบบการดูแลสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.และเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลให้คำปรึกษาทางด้านปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วย ภาคประชาชน
2.ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงสถานบริการ และสมารถพึ่งตนเองได้ ทั้งในสถานบริการของรัฐและในพื้นที่ 3.เครือข่าย อสม.มีความเข้มแข็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 16:31 น.