กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลการดำเนินงานโครงการ จากการจัดโครงการ “โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ”  ตั้งแต่วันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการประเมินผลการจัดโครงการ ดังนี้ 13.1 ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ             มีการจัดกระบวนการกลุ่มเพื่อร่วมกันระบุ จัดลำดับ หาสาเหตุและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 และได้มติกําหนดวันปลุกจิตสำนึกการจัดการขยะเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งวันที่ 9 – 20 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นช่วงเวลารณรงค์และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 มีการจัดกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมละครความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน กิจกรรมแยกขยะ และกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ  ทั้งนี้ได้มีการเชิญนายสมนึก บุตรคง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ  คุณอำพล ดีมาก หมอดินประจำหมู่บ้าน มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ คุณอนุชา ตันปิติกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง และคุณสุจิตรา ยอดแก้ว นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ มาเป็นคณะกรรมการในกิจกรรมแยกขยะ                       การจัดทำโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ 103 คน จาก 786 คนของประชาชนหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียงทั้งหมด           13.2 ประเมินประสิทธิผล                               ประสิทธิผลโครงการ =  ผลลัพธ์ที่ทำได้ × 100
                                                              เป้าหมายที่กำหนดไว้ เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมกิจกรรม รณรงค์การจัดการขยะ ผลการประเมิน : ภายหลังสิ้นสุดโครงการ มีจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ทั้งหมด 71
ครัวเรือน จากทั้งหมด 188 ครัวเรือน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  75.53   ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 2 ร้อยละ 50 ของประชาชนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมวันปลุกจิตสำนึก การจัดการขยะ ผลการประเมิน : ภายหลังสิ้นสุดโครงการ มีประชาชนที่เข้าร่วมวันปลูกจิตสำนึกการจัดการขยะทั้งหมด 51 คนจากทั้งหมด 786 คน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  12.98 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ไม่บรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากการประกอบอาชีพหลักของประชาชนในชุมชนคือตัดยาง ดังนั้นต้องได้รับการพักผ่อนในช่วงกลางวัน คนวัยทำงานออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน ผู้สูงอายุไม่สะดวกในการเดินทางประกอบกับการประชาสัมพันธ์ที่ อาจจะไม่ทั่วถึงพื้นที่ของชุมชน เป้าหมายที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมละครความรู้การจัดการขยะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมชมละครให้ความรู้สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ 50 คน จาก 50 คน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้
                                ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 4 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภทได้ถูกต้อง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภท ได้ถูกต้อง 48 คน จาก 48 คน  ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้                                 ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 5 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักชีวภาพตามลำดับ
ขั้นตอนได้ถูกต้อง ผลการประเมิน: ผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักชีวภาพตามลำดับขั้นตอนได้ถูกต้องซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้             ประสิทธิผลโครงการ =
                                                          =  67.5
            ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ไม่บรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมมีข้อจำกัดด้านเวลาทำให้มีเพียงตัวแทนผู้ร่วมกิจกรรมที่สามารถร่วมทำน้ำหมักชีวภาพ แต่ได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านอื่นๆซึ่งมีประสบการณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ           เป้าหมายที่ 6 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก           ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้             ประสิทธิผลโครงการ = (90.1×100)/80                                                           = 112.6           ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ เกิดความตระหนัก และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมโครงการ 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมชมละครให้ความรู้ สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ 3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภทได้ถูกต้อง 4. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถสาธิตย้อนกลับการทำน้ำหมัก 5. ชีวภาพได้ถูกต้อง 6. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก-มากที่สุด
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ เกิดความตระหนัก และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh