กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว(กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลนครสงขลา เขต 2

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว(กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลนครสงขลา เขต 2
รหัสโครงการ 61-L7250-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลนครสงขลา เขต 2
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 44,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกชัยกิ้มด้วงประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เขต 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ครอบครัวในปัจจุบันที่มีสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลกระทบทำให้แบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำคัญ พบว่ามาจากปัจจัยครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเด็กขาดความอบอุ่นการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม บุคคลในครอบครัวติดการพนัน หรืออยู่ในครอบครัวที่มีบุคคลในครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นต้นซึ่งแทบจะทุกครอบครัวที่มีผู้ติดยาเสพติด จะมีปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสังคมเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่อีกมากมาย ดังนั้น การตระหนักและให้ความสำคัญว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการเฝ้าระวังการเสพและการค้ายาเสพติดในชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้แก่สมาชิกในครอบครัวที่มีแนวโน้มต่อปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่เสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะช่วยให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างยั่งยืน และสร้างให้ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติมั่นคง จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว (กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด)ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของครอบครัว ความรัก การเอาใจใส่ที่ดีจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ให้สมาชิกในครอบครัวตระหนักรู้ถึงปัญหายาเสพติด รู้ถึงทักษะการปฏิเสธ ให้ครอบครัวในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดูแลสมาชิกในครอบครัวและชุมน เสริมสร้างความเข้าใจ มีสัมพันธภาพที่ดีและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนมีพฤติกรรมมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และแสดงออกในทางที่ถูกต้อง

1.  เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว(กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด) จำนวน  30  ครอบครัว

0.00
2 2. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวตระหนักรู้ถึงปัญหายาเสพติด

2.เชิงคุณภาพ
- ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวและผลกระทบในเรื่องยาเสพติดและมีความพึงพอใจ ร้อยละ80 - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาเสพติด และทักษะในการปฏิเสธ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพิ่มเติมไปปรับใช้ในครอบครัวเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกในครอบครัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ร้อยละ 100

0.00
3 3. เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรู้ถึงทักษะการปฏิเสธ

3.  เชิงเวลา โครงการดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  ร้อยละ  90

0.00
4 4. เพื่อให้ครอบครัวในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว และชุมชน 5. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ มีสัมพันธภาพที่ดีและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพในครอบครัว

4.  เชิงค่าใช้จ่าย  โครงการดำเนินการโดยใช้งบประมาณตามที่ประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  2. ประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและ ขอความร่วมมือในด้านต่างๆ
  3. ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในชุมชนพื้นที่เขต 2 เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานเรื่องสถานที่และจัดเตรียม/จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับในการดำเนินงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการ 5.1 การอบรมให้ความรู้แก่ครอบครัว

- บรรยายให้ความรู้ถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันทักษะในการปฏิเสธ และการสังเกตเมื่อคนในครอบครัวติดยาเสพติด - กฎหมายที่มีโทษเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน 5.2 การแบ่งกลุ่มพ่อแม่ กลุ่มเด็ก และกลุ่มครอบครัว กิจกรรมสำหรับกลุ่มเด็ก ใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อนคุยกับเพื่อน และเสริมพลัง
- ความรู้เรื่องทักษะการปฏิเสธ - แบ่งกลุ่มเพื่อค้นหาความต้องการ และความสามารถของเด็ก - แบ่งกลุ่มเพื่อค้นหาพื้นที่ไม่สร้างสรรค์ และพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน - กิจกรรม 24 ชม.ของฉัน (ให้เขียนกิจกรรมที่เด็กทำทุกชั่วโมงใน 24 ชั่วโมง) - แบ่งกลุ่มเพื่อค้นหาแนวทางการทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมสำหรับกลุ่มพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ใช้กระบวนการเปิดใจกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1.การให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองในหัวข้อ - การเลี้ยงดูลูก - การสื่อสารทางบวกกับลูก (ยอมรับ ชื่นชม ให้กำลังใจ ไม่ซ้ำเติม) - การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก 2. กิจกรรมแบ่งกลุ่มพ่อ แม่ เพื่อค้นหาทุกข์ สุขของครอบครัว 3. กิจกรรม 24 ชม.ของฉัน (ให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเขียนกิจกรรมที่ทำทุกชั่วโมงใน 1 วัน) กิจกรรมสำหรับกลุ่มครอบครัว(เด็ก และพ่อแม่ ผู้ปกครอง) ทำกิจกรรมร่วมกัน 1. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมการแสดง (role play) เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชน 2. ร่วมกันวิเคราะห์แนวทางในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหายาเสพติดที่มีในชุมชน 3. กิจกรรม Family Time เวลาของครอบครัว (สมาชิกครอบครัวเอากิจกรรม 24 ชม.มาดูร่วมกันว่ามีกิจกรรมร่วมกันหรือไม่อย่างไร และให้นำเสนอ) 4. การแบ่งกลุ่มเพื่อนำเสนอทุกข์สุขของครอบครัว 5. กิจกรรมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 6. กิจกรรมสัญญาใจ แต่ละครอบครัวทำข้อตกลงร่วมกัน 6. ติดตามประเมินผล/สรุปโครงการ 7. สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวและผลกระทบในเรื่องยาเสพติด
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาเสพติด และทักษะในการปฏิเสธ
  3. สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพิ่มเติมไปปรับใช้ในครอบครัวเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกในครอบครัวเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้
  4. สามารถสร้างเครือข่ายครอบครัวในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 10:24 น.