กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างครอบครัวสุขภาพวะในชุมชน เทศบาลนครสงขลา ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลนครสงขลา เขต 3
รหัสโครงการ 61-L7250-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลนครสงขลา เขต 3
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 44,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเชาว์สุชลสถิตย์ ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เขต 3
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก อันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาประเทศตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลักหรือการพัฒนาที่เดินตามการชี้นำของประเทศตะวันตก ทำให้ทุกองคาพยพของสังคมพลอยถูกขับเคลื่อน หรือบางส่วนอาจเข้าข่ายการถูกฉุดดึงไปตามกระแสการพัฒนาด้วย สถาบันครอบครัวไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น การพัฒนาตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลักให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย หรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นการพัฒนาแบบแยกส่วน ทำให้เกิดกระบวนการดึงคนออกมาจากครอบครัว แยกพ่อแม่ ลูกหลาน ปู่ย่าตายาย ออกจากกัน ผลของการพัฒนานั้นแม้จะทำให้ครอบครัวไทยมีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีความสุขสบายด้านวัตถุมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่เคยแนบแน่นและอบอุ่นก็เริ่มเลือนหายไป เปลี่ยนแปลงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่นดังก่อน ความผูกพันกันในเชิงอารมณ์และความรู้สึกมีค่อนข้างน้อย คนในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันน้อยลง พ่อแม่มีหน้าที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และวัตถุเพื่อมาเลี้ยงดูปรนเปรอความสุขให้ลูก ส่วนลูกซึ่งต้องทำหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ถูกวัฒนธรรมต่างชาติและอบายมุขชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย การเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็นไปตามยถากรรม เด็กๆเรียนรู้ชีวิตด้วยตนเองจากสังคมนอกบ้านมากกว่าสังคมในบ้าน สภาพการณ์เช่นนี้หลายคนมองว่าสถาบันครอบครัวไทยกำลังตกต่ำอยู่ในสภาพใกล้ล่มสลาย ไม่มีความเป็นครอบครัวเหลืออยู่
ซึ่งครอบครัวเองก็ไม่สามารถยับยั้ง หรือผ่อนคลายปัญหาได้ ทุกคนได้แต่คอยเรียกร้องให้ คนนอก ไม่ว่าจะเป็น ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้แต่รัฐบาลให้เข้ามาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาครอบครัว
ไม่ว่าจะมองเรื่องนี้กันอย่างไร สังคมทำให้สถาบันครอบครัวเกิดปัญหา หรือสถาบันครอบครัวกลายเป็นปัญหาของสังคม แต่สิ่งที่คนในสังคมไทยเวลานี้เห็นพ้องร่วมกันก็คือสังคมต้องให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวให้มากขึ้น ต้องทำความเข้าใจครอบครัวที่อยู่ท่ามกลางกระแสพายุของการเปลี่ยนแปลง ให้มากขึ้น ทุกวันนี้แม้เราเติบโตจากครอบครัว แต่เราก็แทบจะไม่รู้จักครอบครัวอย่างแท้จริง เพราะขาดข้อมูล ที่ลึกซึ้ง น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสถาบันครอบครัวให้สามารถอ้างอิงเผยแพร่ได้
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3 จึงได้จัดทำโครงการกิจกรรมค่ายครอบครัวสัมพันธ์ขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกายครอบครัว ในพื้นที่ชุมชนเขต 3 ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและปกติสุข ให้ครอบครัวมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาในครอบครัวของตนเอง ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ครอบครัวมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาในครอบครัวของตนเอง

1.  เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างครอบครัวสุขภาวะในชุมชนเทศบาลนครสงขลา เขต 3 จำนวน  30  ครอบครัว

0.00
2 2. เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

2.  เชิงคุณภาพ - ติดตามผลความเปลี่ยนแปลง ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ  80
- เกิดสัมพันธภาพในครอบครัวไปในทางที่ดี ร้อยละ 90

0.00
3 3. เพื่อดำเนินงานตามแนวทางของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน

3.  เชิงเวลา โครงการดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด  ร้อยละ  90

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ทั้งด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ให้กับครอบครัวในพื้นที่ชุมชนเขต 3 ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและปกติสุข

4.  เชิงค่าใช้จ่าย  โครงการดำเนินการโดยใช้งบประมาณตามที่ประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  2. ประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและขอความร่วมมือในด้านต่างๆ
  3. ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในชุมชนพื้นที่เขต 3 เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานเรื่องสถานที่และจัดเตรียม/จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับในการดำเนินงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการดำเนินกิจกรรมด้านครอบครัว ดังนี้ •กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ครอบครัว โดยให้ช่วยกันคิดว่าปัจจุบัน สถานการณ์ครอบครัวในชุมชน เป็นอย่างไร โดยให้บอกให้ด้านที่ดี พร้อมยกตัวอย่าง และที่กำลังเป็นปัญหา พร้อมหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน •กิจกรรมการเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวโดยกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนในครอบครัว
    พ่อแม่ลูกหรือผู้ปกครองได้พูดคุยกันถึงการกระทำที่ดี / ไม่ดีที่เกิดในครอบครัว และให้ช่วยกันหาแนวทางแก้ไข •กิจกรรมรู้จักบทบาทพ่อแม่ลูก ร่วมแก้ไขปัญหาครอบครัวโดยกิจกรรมนี้แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมเป็น ๒ กลุ่ม
    ได้แก่ กลุ่มพ่อ-แม่ /ผู้ปกครองและกลุ่มลูก
    โดยแยกกลุ่มกันทำกิจกรรม กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง :ปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว และช่วยกันหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้ง ทำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดีและเหมาะสมในครอบครัว
    กลุ่มลูก : พูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ของลูกในครอบครัว พร้อมทั้งสอดแทรกกิจกรรมสันทนาการ เพื่อกระตุ้นความสนใจเด็ก •กิจกรรม walk rallyเป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวมีความสามัคคีได้ร่วมกันคิดวางแผน และหาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหา
  6. ติดตามประเมินผล/สรุปโครงการ
  7. สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทบทวนทุกข์สุขของครอบครัวและเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อครอบครัว เริ่มมองเห็นว่าครอบครัวไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่เชื่อมโยงกับสังคม ชุมชนด้วย
  2. ทำให้ชุมชนมีศูนย์รวมในการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่มีการจัดการโดยชุมชน
  3. ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
  4. ครอบครัวทุกครอบครัวจะเป็นหน่วยงานพื้นฐานที่เป็นภูมิคุ้มกันปัญหาสังคม แก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมของตนเองและชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง
  5. ปัญหาสังคมในชุมชนจะลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 10:28 น.