กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5307-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 18,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรีนาโต๊ะเจ๊ะผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.691,100.049place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 97 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกคาดอัตราป่วยวัณโรครายใหม่ในประเทศไทยจากการสำรวจความชุกพบว่าในปี 2557 มีประมาณ 120,000 รายคิดเป็น 171 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบในกลุ่ม ผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเบาหวานเป็นต้น ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือดื้อยาหลักอย่างน้อย 2 ชนิดคือไอโสไนอาสิดและไรแฟมพิซินประมาณ 2,200 ราย มาจากผู้ป่วยใหม่ 1,100 ราย, ผู้ป่วยมีประวัติรักษาวัณโรคมาก่อน 1,100 ราย
วัณโรค เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจอีกโรคหนึ่ง ที่มีการระบาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีประชาชนอยู่กันแออัด ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอต่อเนื่องเกิน ๒ สัปดาห์ เจ็บหน้าอก มีไข้ต่ำๆ หรือบางรายอาจไม่มีอาการแสดง หรือบางรายพบในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่รายแรงและค้นหาผู้ป่วยได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตนเองกลัวสังคมรังเกียจปฏิเสธการรักษาพยาบาลเพราะยังมีประชาชนบางส่วนที่มีความเข้าใจที่ผิดในเรื่องโรควัณโรคเช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นโรควัณโรคทุกรายแต่ความจริงผู้ป่วยวัณโรคไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์ เพราะโรคเอดส์เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องดังนั้นจึงทำให้เกิดโรควัณโรคแทรกซ้อนได้ง่ายปัจจุบันโรควัณโรคมียารักษาให้หายขาดได้แต่ต้องกินยาต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดห้ามหยุดยาหรือเพิ่มขนาดยาเองแต่ยังมีผู้ป่วยบางส่วนที่หยุดกินยาเอง เนื่องจากมีอาการแพ้ยาจากฤทธิ์ของยาทำให้ผู้ป่วยหยุดการรักษาเองและทำให้เชื้อดื้อยาจนต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาที่ยุ่งยากขึ้นยิ่งวิธีการรักษาที่ยุ่งยากเท่าไหร่การขาดการรักษาที่ต่อเนื่องยิ่งมากเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลเสียให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้นและอาการของโรครุนแรง เกิดโรคแทรกซ้อน รักษายากใช้เวลานาน จากรายงานวัณโรคของโรงพยาบาลสตูลปี 2560 ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 120 รายคิดเป็นอัตราป่วย 106.44 ต่อแสนประชากร ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 86.70 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายคือร้อยละ 87
สถานการณ์วัณโรคของตำบลบ้านควนพบผู้ป่วยตั้งแต่ปี2555-2561ตามลำดับดังนี้ 1,3,6,1,4,4,3 รายทุกปีตั้งแต่ 1 – 6 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมโรคโดยมุ่งเน้น
“ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบการดูแลรักษา”กำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS)
โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขญาติ หรือ อสม. จนรักษาหาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและกลุ่มเสี่ยง

1.กลุ่มเสี่ยงในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้สัมผัสร่วมบ้านได้รับการคัดกรองวัณโรคทุกราย

0.00
2 ๒. เพื่อให้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพเน้นการควบคุมกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS) โดยญาติ หรือ อสม.

2.ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพเน้นการควบคุมกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS)
    โดยญาติ หรือ อสม. และได้รับการเยี่ยมบ้านทุกราย

0.00
3 ๓. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคในชุมชนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรมในการป้องกันและควบคุมวัณโรคที่ถูกต้อง

3.อสม.มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรค และการกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS) ได้อย่างถูกต้อง ๔. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคของประชาชนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรมในการป้องกันและควบคุมวัณโรคที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,118.00 3 18,225.00
อบรมให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องการค้นหาผู้ป่วย การรับยารักษาโรควัณโรค และ การกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) โดยญาติ หรือ อสม. 0 18.00 12,125.00
26 มี.ค. 61 ค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเเละผู้เข้าข่ายสงสัยในชุมชน 0 4,850.00 4,850.00
28 มี.ค. 61 สรุปผลการดำเนินงาน 0 1,250.00 1,250.00

วิธีการดำเนินงาน ๑. จัดทำแผนงาน / โครงการเพื่อเสนอผู้บริหาร ๒. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ เจ้าหน้าที่อสม. และผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องการค้นหาผู้ป่วย การรับยารักษาโรควัณโรค และ การกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS)โดยญาติ หรือ อสม. ๔. การค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและผู้เข้าข่ายสงสัยในชุมชน ๕. กลุ่มเสี่ยงและผู้ที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยในชุมชนที่ผลการคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ๖. ติดตามการรับยา/การเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคตลอดการรักษาจนหายขาด
๗. สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นคาดว่า อสม. มีความรู้ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยวัณโรคด้วยการดำเนินงานแบบการกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง(DOTS)ได้อย่างถูกต้องสามารถค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายวัณโรคให้ได้รับการรักษาได้ทันเวลาและผู้ป่วยวัณโรคสามารถรักษาสำเร็จและไม่กลับเป็นซ้ำโดยมุ่งเน้น
“ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบการดูแลรักษา”ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 10:32 น.