กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนบ้านปูลัย
รหัสโครงการ 61-L8413-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปูลัย
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหะมุด สมอดียอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มิ.ย. 2561 5 มิ.ย. 2561 19,750.00
รวมงบประมาณ 19,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่13)พ.ศ.2552มาตรา50ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล(3)รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และความสะดวกในการดำรงชีวิตทำให้ปริมาณขยะมูลฝอย เพิ่มขึ้น ประกอบกับการขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะมูลฝอย จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของ เทศบาลตำบล ปัจจุบันการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นโดยการนำขยะมูลฝอยทั้งหมดไปกำจัดโดยการฝังกลบ ซึ่งมีวัสดุที่ยังมีมูลค่าสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้โดยตรง(Reuse) หรือการนำไปผ่าน กระบวนการเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) รวมทั้งขยะมูลฝอย บางส่วนที่สามารถนำมาแปรรูปเพื่อใช้ ประโยชน์ได้ มูลเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจาก การขาดความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึก เกี่ยวกับขยะ มูลฝอยของประชาชนในพื้นที่
งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลบาลอ ได้เล็งเห็นปัญหาที่ เกิดขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารขยะขึ้นในเขตเทศบาลตำบลบาลอ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการกำจัดขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนตำบลบาลอ อีกทั้งยัง เป็นการช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมของเทศบาลที่เกิดขึ้น อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในพื้นที่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ครัวเรือนในพื้นที่ร้อยละ30 เข้าร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกธนาคารขยะรีไซเคิล

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ตลอดจนมีความรู้ถึงภัยที่เกิดจากภาวะโลกร้อน

 

0.00
3 เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

 

0.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีความสะอาดถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งที่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคไข้เลือดออก

 

0.00
5 เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ม.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะตามหลักการ ๓rs 120 8,100.00 8,100.00
11 ม.ค. 62 กิจกรรมการดำเนินงานธนาคารขยะ 0 6,650.00 5,580.00
11 ม.ค. 62 การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 0 5,000.00 5,000.00
รวม 120 19,750.00 3 18,680.00

ด้านการบริหารจัดการ 1.ประชุมประชาคมหมู่บ้านตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ ตามความเหมาะสม กำหนดรูปแบบการทำงาน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 2.ประกาศรับสมัครสมาชิกจากครัวเรือนในหมู่บ้าน และผู้สนใจหมู่บ้านข้างเคียง กำหนดค่าหุ้นๆ ละ 20 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 5 หุ้น 3. ประกาศกำหนด วัน เวลา เปิด รับฝาก ของธนาคารขยะ ทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือนจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นสมุดประจำธนาคาร สมุดประจำตัวสมาชิกใบนำฝากขยะ ตัวอย่างประเภทการคัดแยกขยะสำหรับครัวเรือน 4.เจ้าหน้าที่ธนาคารให้เลขที่สมาชิก ในสมุดคู่ฝาก และทะเบียนประจำวันของธนาคาร โดยธนาคารจะมอบสมุดคู่ฝากให้สมาชิก และสมาชิกสามารถขอตรวจสอบยอดกับทะเบียนประจำธนาคารได้ในวันที่ธนาคารเปิดทำการ 5.เมื่อมีสมาชิกนำขยะมาฝาก ผู้ฝากเขียนใบนำฝากตามรายการที่ธนาคารประกาศไว้ ส่งมอบขยะให้เจ้าหน้าที่ธนาคารลงรายละเอียด ทำการคัดแยกประเภทขยะ ชั่งน้ำหนัก ลงบันทึกในสมุดทะเบียนประจำธนาคาร และสมุดคู่ฝาก ด้านอาคารสถานที่ การจัดเตรียมสถานที่เก็บรวมรวบ ยึดหลักง่ายๆ มีสถานที่โดยสามารถเก็บรวบรวมขยะได้ ขยะบางอย่างต้องมีหลังคาป้องกันฝน และรถเข้าออกสะดวกในการขนย้ายเมื่อซื้อขาย จัดทำบ่อปุ๋ยหมัก มีการติดประกาศราคาของขยะที่รับซื้อ ณ ปัจจุบัน ด้านประชาสัมพันธ์ - การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน และชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ของชุมชน วิทยุชุมชน ผ่านแกนนำชุมชน อื่นๆ เพื่อให้ทุกคนทราบ เข้าใจ และมีส่วนร่วม การขายขยะ เมื่อมีการฝาก 4 ครั้งขึ้นไป หรือมีปริมาณขยะของธนาคารมากพอแล้ว คณะกรรมการจะติดต่อร้านวงษ์พานิชย์มารับซื้อ เมื่อขายขยะเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการลงบัญชี ดำเนินการจัดสรรเงินให้สมาชิกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ ร้อยละ 80 คืนให้สมาชิก ร้อยละ 20 นำมาจัดสรรในรายละเอียดดังนี้ 70 % เป็นค่าตอบแทนคณะกรรมการ 10 % เป็นค่าวัสดุที่จำเป็นของธนาคาร อีก 20 % เป็นเงินปันผลให้กับสมาชิกที่มีการฝากขยะสม่ำเสมอตามหลักเกณฑ์คณะกรรมการกำหนด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปริมาณขยะในพื้นที่ลดลง 2. เกิดระบบการจัดธนาคารขยะของ ตำบลบาลอที่ดีและมีประสิทธิภาพ 3. สร้างรายได้เสริม และปลูกฝังนิสัยการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับครัวเรือนในชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการ
4. ครัวเรือนในชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในสภาวะแวดล้อมของชุมชนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนภายในเทศบาลตำบลไทรย้อยให้สวยงาม น่าอยู่ และถูกสุขอนามัย
5. ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 10:53 น.