กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รหัสโครงการ 61-L8413-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยประสบปัญหายาเสพติดทั้งในด้านการเป็นพื้นที่ผลิต การเป็นพื้นที่การค้า การเป็นพื้นที่แพร่ระบาด และการเป็นทางผ่านยาเสพติด โดยเฉพาะ เฮโรอีน กัญชา และยาบ้า แม้การปราบปรามยาเสพติดที่ผ่านมา จะเน้นไปที่การปราบปรามโดยดำเนินการมาหลายรัฐบาล แต่ปัญหายาเสพติดยังเป็นโจทย์หินที่ท้าทายการแก้ปัญหาของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยและที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วยเช่น เน้นการดูแลเด็กและเยาวชน เพราะเป็นเป้าหมายของขบวนการยาเสพติดเนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหาสร้างตัวตนสร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิต สามารถนำพาตนเองและบุคคลคนรอบข้างให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติดได้
เทศบาลตำบลบาลอจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 2496 มาตรา 50 (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับเบื้องต้นและเพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ แนวทางการป้องกันแก่เด็กและเยาวชนรวมทั้งร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียนและชุมชนเทศบาลตำบลบาลอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ร้อยละนักเรียนโรงเรียนตาดีกาเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด

 

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบาลอ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 - 23 ก.ย. 61 จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนตาดีในชุมชน 400 40,000.00 40,000.00
รวม 400 40,000.00 1 40,000.00
  1. จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันปัญหายาเสพติดเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงวิธีการดำเนินงานแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับโรงเรียนตาดีกาในชุมชน
  4. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้นักเรียนตาดีในชุมชน
  5. จัดประกวดอานาซีด
  6. จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย “วัยเรา ไม่พึ่งยา”
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด ๒. เด็กและเยาวชนเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการป้องกันปัญหายาเสพติด ๓. มีเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 11:33 น.