กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านสะอาด ปลอดขยะ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ชุมชนสวนพระนิเทศศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 6,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวรกรจันทร์แก้ว อสม.ชุมชนสวนพระนิเทศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในช่วงฤดูฝน การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน/ชุมชนจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้เลือดออกและจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดโรคในพื้นที่ จึงจะสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้สงบได้ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2560 พบว่า อัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออก สัปดาห์ที่ 39 ปี 2560 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 3 ตุลาคม 2560 ของจังหวัดสงขลา มีผู้ป่วย จำนวน 2,744 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร 195.17 (สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค, 2560) และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2560 พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกจำนวน 23 ราย (อัตราป่วย 529.93 ต่อแสนประชากร) ในขณะที่ชุมชนสวนพระนิเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ของชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ มีผู้ป่วยจำนวนสูงสุดถึง 9 ราย เนื่องจากมีประชากรที่หนาแน่นหลายพันครัวเรือนการปลูกอาคารบ้านเรือนที่หนาแน่น และชุมชนแออัด ส่งผลให้การดูแลทำความสะอาดถนน คูระบายน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆ ไม่ทั่วถึง อีกทั้งขาดความร่วมมือเอาใจใส่จากประชาชนในชุมชน จึงก่อให้เกิดการแพร่พันธ์ยุงลายในบริเวณกว้าง ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันจำกัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนสวนพระนิเทศ ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้ แกนนำ อสม. เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านสะอาด ปลอดขยะ” ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรค ไข้เลือดออก 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  1. จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ลดลง
0.00
2 3. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0 4. เพื่อประกาศเกียรติคุณชุมชน/ซอย ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย โดยค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. แกนนำ อสม./ประชาชน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทางหอ กระจายข่าว
  4. เดินรณรงค์ ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี 4.1 การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 4.2 ใช้สารเคมี โดยการใส่ทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน
    4.3 สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลา หางนกยูงสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง
    4.4 แจกเอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  5. ประเมินผลโดยสำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทุก 3 เดือน จะต้องมีค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI เท่ากับ 0
  6. ประกวดซอยปลอดโรคไข้เลือดออก
  7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
  8. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ลดการแพร่ระบาดของโรคและลดอัตราป่วย/ของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 14:28 น.