กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถนนอาหารปลอดภัย Street food สงขลาแต่แรก ถนนคนเดิน เพลินกินของหรอย ย้อนรอยบ่อยาง เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลอาหาร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 65,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุดมลักษณ์บุญนวลเจ้าพนักงานสุขาภิบาลชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้ปี พ.ศ.2558 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย และได้กำหนดให้มีการบูรณาการดำเนินการร่วมกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมปีท่องเที่ยววิถีไทย ดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องดูแลบริหารจัดการด้านความสะอาด สุขอนามัยและสถานบริการในแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย
เทศบาลนครสงขลา ได้ดำเนินการส่งเสริม และสนับสนุน การดำเนินกิจกรรมด้านอาหารปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภายในเขตเทศบาล มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติหลายแห่ง ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวและประชาชนเข้ามาเยี่ยมชมหลายแสนคน หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยอาหารเพื่อมาบริโภคและเที่ยวชมย่านเมืองเก่าก็จะเป็นบริเวณถนนจะนะ ซึ่งเทศบาลนครสงขลา ได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้ชื่อโครงการสงขลาแต่แรก “ถนนคนเดิน เพลินกินของหรอย ย้อนรอยบ่อยาง” มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้ถนนสายดังกล่าวเป็น ถนนอาหารปลอดภัย (Street Food) ของจังหวัดสงขลา ให้ได้ตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ถนนอาหารปลอดภัย ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดให้มีโครงการถนนอาหารปลอดภัย (Street Food) สงขลาแต่แรก “ถนนคนเดิน เพลินกินของหรอย ย้อนรอยบ่อยาง” ประจำปี พ.ศ.2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริม พัฒนาการประกอบการจำหน่ายอาหารบนถนนอาหารปลอดภัย ให้ได้มาตรฐาน และลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารของประชาชนและนักท่องเที่ยว

    จำนวนผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในถนนอาหารปลอดภัย มีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาน  ประกอบการด้านอาหารได้มากกว่าร้อยละ 80 

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่ายด้านอาหารปลอดภัย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2.จัดทำแผนปฏิบัติงาน 3.ดำเนินการตามโครงการ -แต่งตั้งคณะทำงานถนนอาหารปลอดภัย ภายในเขตเทศบาลนครสงขลา -จัดระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้ง จำนวน 30 คน -จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในถนนสายอาหารปลอดภัย จำนวน 150 คน -จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายแกนนำกลุ่มผู้ประกอบการถนนสายอาหารปลอดภัย 1 ครั้ง จำนวน ๕0 คน เรื่องการใช้ชุดตรวจ SI2 และเทคนิคการตรวจกายภาพ
-ปฏิบัติงานตามแผน ตรวจแนะนำสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร ถนนอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน ถนนอาหารปลอดภัย และสุ่มตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI2) เป็นจำนวน ๒ ครั้ง โดยผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารถนนคนเดิน ได้รับการสุ่มตรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ๔.สรุปผลและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การจำหน่ายอาหารบนถนนอาหารปลอดภัย ได้มาตรฐาน ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ และปลอดภัย ๒. ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหาร เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่ายด้านอาหารปลอดภัย มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมด้านความปลอดภัยด้านอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 15:02 น.