กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพิชิตยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออกและควบคุมโรคอุบัติใหม่ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 318,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรินทิพย์มุณีสว่างพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrahagic Fever) ยังเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งมีการระบาดในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยทั้งในเขตเมืองและชนบท ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก การควบคุมการระบาดเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลงนั้น อยู่ที่การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดจำนวนประชากรยุงที่มีการติดเชื้อ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายแผนพัฒนาสุขภาพที่ ๑๐ ดำเนินงานโดยการลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อประชากรแสนคนลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี จากข้อมูลการรายงานสถานการณ์พบว่า แนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครสงขลา ยังมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก (มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕60 เท่ากับ 169.76 ต่อประชากรแสนคน) เนื่องจากมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรค คือ ลักษณะของชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น การจัดเก็บและการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายในชุมชน ประกอบกับในเขตเทศบาลนครสงขลา มีนักเรียน นักศึกษาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด เข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อจากผู้ป่วยจากต่างพื้นที่และแพร่ระบาดในเขตเทศบาลนครสงขลาได้อย่างรวดเร็ว การสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนภายในเขตเทศบาลนครสงขลา พบว่ามีค่า HI = 14.67% และจากสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและการท่องเที่ยวภายในเขตเทศบาลนครสงขลา งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการพิชิตยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออกและควบคุมโรคอุบัติใหม่ในเขตเทศบาลนครสงขลา โดยมีการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่ง
  1. อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราความชุมของลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า ๑96ต่อประชากรแสนคน
0.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน ๑96 ต่อประชากรแสนคน และไม่พบ
  1. ไม่มีอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๓. วิธีการดำเนินงาน ๑. กิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย 3.๑ เสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 3.๒ ประชุมชี้แจงคณะทำงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง อสม. ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์กำจัดและทำลาย แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ๓.3 จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดทำป้ายไวนิล นิทรรศการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.4 แจกทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและแจกอุปกรณ์เพื่อทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3.6 ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่อสม.และประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา 3.7 จัดกิจกรรมรณรงค์ กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในเขตเทศบาลเพื่อสร้างกระแส ให้ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 3.8 จัดการดูแลสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชนภายในเขตเทศบาลนครสงขลาเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ
ยุงลาย 3.9 ขอความร่วมมือหน่วยงานราชการในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒. กิจกรรมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.1 ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.2 ดำเนินการสอบสวนโรคภายใน๒๔ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรายงานผลการ สอบสวนโรค 2.3 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ ๒ ครั้ง ห่างกัน ๑ สัปดาห์ในบ้านและบริเวณรอบบ้านผู้ป่วย เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.4 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงก่อนเปิดภาคเรียน ๒ ครั้ง ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.5 ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงแบบปูพรมในพื้นที่ระบาด ๒ ครั้ง 2.6 กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี 2.7 แจกทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายให้แก่ชุมชนและหน่วยงานราชการ 2.8 ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 3. กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย 3.1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ผู้ที่เกี่ยวข้องและ อสม. ในการดำเนินการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน 3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย 3.3 กำหนดเกณฑ์การประเมินชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย 3.4 ดำเนินการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน๒ครั้งเพื่อประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย 3.5 สรุปและประเมินผลการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน 3.6 มอบรางวัลเพื่อสนับสนุนชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ๗ ชุมชน (ตัวแทน ๗ PCU)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย - ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ ยุงลาย - อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง (ค่า HI

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 15:21 น.