กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน
รหัสโครงการ L8408-61-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 11,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรควัณโรค
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศโดยประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคสูงเป็นอันดับที่ 18จาก 22 ประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดวัณโรคสูงของโลกในขณะที่ผลการดำเนินงานความสำเร็จในการรักษาค่อนข้างต่ำผู้ป่วยขาดความรู้และบางส่วนในชุมชนยังไม่ได้รับการวินิจฉัย การรักษาล่าช้า มารับบริการที่โรงพยาบาลเมื่อมีอาการมากแล้วและเสียชีวิตในที่สุด บางรายได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดการรักษา อาจทำให้เกิดการดื้อยาและมีแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน จากการดำเนินงานวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2558 มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 2 ราย ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 6 ราย และปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 8 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในพื้นที่ตำบลแป-ระ มีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี และปัญหาที่พบในผู้ป่วยวัณโรคคือ ผู้ป่วยเมื่อได้รับการรักษาวัณโรคแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองหายแล้วหยุดการกินยา เมื่อผู้ป่วยหยุดยาก็จะทำให้เกิดการดื้อยา และแพร่เชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างสร้างแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการกำกับการกินยา ให้ผู้ป่วยวัณโรคใด้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ โดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง ( DOT) โดยแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน และค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรคไห้ได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น และสามารถป้องกัน/ควบคุมการแพร่กระจายของโรคในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรค เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพ โดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT)

-  ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT)              โดยแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน ร้อยละ 100

40.00
2 2. เพื่อให้ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเดียวกัน

-  ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว          ที่ถูกต้องในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเดียวกันโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 

20.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และผู้ป่วยเป็นซ้ำ ได้รับการรักษาครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด

-  ตัวชี้วัดความสำเร็จ อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ
ร้อยละ 85

45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,350.00 3 11,350.00
1. อบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค การควบคุมกำกับการกินยา และการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคโดยวิธี DOT และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเดียวกันแก่แกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชนและผู้สัมผัสร่วมบ้านเดียวกันกับผู้ป่วยวัณโรค 0 11,350.00 11,350.00
2. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคโดยวิธี DOT โดยทีมแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน 0 0.00 0.00
3. คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วย HIV กลุ่มอื่นๆ) 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT) โดยแกนนำเครือข่ายวัณโรคในชุมชน
    1. ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเดียวกัน
    2. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และผู้ป่วยเป็นซ้ำได้รับการรักษาครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 16:08 น.